วันจันทร์ที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2552

แผนที่ตัวเลข(Digital Map)

ในประเทศไทยเองก็มีการพยายามให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลแผนที่ตัวเลขสร้างข้อมูล(Meta data)ออกมาในลักษณะมาตรฐานใช้ร่วมกัน ทางกรมแผนที่ทหาร เองก็มีความพยายามทีจะทำแผนที่ตัวเลขให้ออกมาในลักษณะ Meta data โดยตั้งรูปแบบข้อมูลแผนที่ตัวเลขออกมาใน 7 รูปแบบคือ
ส่วนที่เป็น Vector มีรูปแบบข้อมูลดังต่อไปนี้
Vmap อยู่ในมาตรฐานของ Digest
Shape file มาตรฐานข้อมูลที่ใช้ใน software ส่วนมาก
Dgnหรือ DXF มาตรฐานข้อมูลที่ใช้ใน software ส่วนมาก
ส่วนที่เป็น Raster มีรูปแบบข้อมูลดังต่อไปนี้
DTED อยู่ในมาตรฐานของ Digest
ADRG อยู่ในมาตรฐานของ Digest
Geotiff มาตรฐานข้อมูลที่ใช้ใน software ส่วนมาก
ข้อมูลภาพถ่ายดาวเทียม ภาพถ่ายทางอากาศหรือภาพแผนที่ที่มิได้ผ่านกระบวนการตรึงให้เข้ากับพิกัดโลก(Georeference)ในส่วนของที่เป็นตัวเลข ปัจจุบันจะผลิตออกมาในลักษณะ ของ Tiff
โดยที่มีการตกลงกันว่า กรมแผนที่ทหารจะผลิตข้อมูลออกมาในลักษณะ 7 รูปแบบ หน่วยราชการที่มีความต้องการข้อมูลแผนที่ตัวเลข ต้องมีเครื่องมือหรือโปรแกรมที่จะรับข้อมูลทั้ง 7 รูปแบบได้
เรื่องราวของ แผนที่ตัวเลข เป็น ข้อมูลที่เราสามารถจะนำไปใช้ประโยชน์ได้ในหลายรูปแบบ ข้อมูลแผนที่ตัวเลขที่ผ่านการออกแบบมาเป็นอย่างดี และผลิตเพื่อแจกจ่ายที่เป็นในรูปแบบข้อมูลที่เป็นมาตรฐาน นอกจากจะเป็นการลดความไม่เข้ากันในระหว่างขั้นตอนการแลกเปลี่ยนข้อมูลแล้ว ยังเป็นการลดความซ้ำซ้อนในการจัดทำข้อมูล จึงเป็นสิ่งที่หน่วยงานที่ใช้ข้อมูลแผนที่ตัวเลขควรคำนึงถึง ก่อนที่จะจัดทำระบบ ในอดีตที่ผ่านมา หลายหน่วยงานที่จัดทำระบบขึ้นมา มักจะคำนึงถึงเฉพาะเรื่อง ที่เกี่ยวกับ Hardware และ Software มากกว่าที่จะคำนึงในส่วนของ บุคลากรและข้อมูล เมื่อจัดหาระบบขึ้นมาใช้งาน มักจะทำงานออกมาเป็นผลผลิตไม่ตรงตามเป้าหมายที่วางไว้ ก่อให้เกิดความเสียหายต่อหน่วยงานเอง จึงเป็นส่วนที่นักวิเคราะห์ระบบต้องคำนึงไว้

ผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยี

นักเขียนแผนที่จะสามารถยอมรับเทคโนโลยีได้ค่อนข้างเร็วอยู่แล้ว แผนที่จึงเป็นตัวสะท้อนให้เห็นถึงความสำเร็จ และความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีในช่วงเวลาสั้นๆ เช่น การจะเลือกข้อมูลสำหลับการเขียนแผนที่อย่างไร จะออกแบบอย่างไร จะผลิตและพิมพ์อย่างไร เหล่านี้จะเกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีทั้งสิ้น

เหตุผลที่มีสหสัมพันธ์สูงระหว่างความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีและความสำเร็จของการเขียนแผนที่จะพิสูจน์ได้จากนักเขียนแผนที่รุ่นต่อไปที่จะมุ่งเข้าสู่เป้าหมายใหญ่ คือ
1. สังคมภายนอกยังต้องการแผนที่ที่มีความถูกต้องสมบูรณ์และทันสมัย
2. มีความต้องการแผนที่ที่มีราคาถูกลงมากยิ่งขึ้น

การเขียนแผนที่ที่มีการประยุกค์ใช้เครื่องมือใหม่ๆเพื่อลดเวลาการทำงาน ลดการทำงานที่ซ้ำๆกัน เพื่อความถูกต้อง โดยจะไม่เปลี่ยนแปลงหลักการพื้นฐานเมื่อใช้เทคโนโลยีใหม่ แต่การจะหาเทคโนโลยีที่มีความสมบูรณ์พร้อมทุกด้านคงเป็นเรื่องยาก นักเขียนแผนที่รุ่นใหม่มีโอกาสมากกว่าในแง่ของการผสมผสานเทคโนโลยีเป็นลูกผสม (Hybrid Technology)
เทคโนโลยีเป็นลูกผสม (Hybrid Technology)

เมื่อทำแผนที่แผ่นหนึ่งมีการใช้ HW & SW หลายอย่างจึงทำให้ในปัจจุบันมีแผนที่อย่างหลากหลาย อย่างไรก็ตามการทำแผนที่จะต้องมีดุลยภาพระหว่างความเหมาะสมด้านเวลา ค่าใช้จ่าย (แรงงาน เครื่องมือ และวัสดุ) และคุณภาพของแผนที่ที่ต้องการ

การเขียนแผนที่

ในอดีตการเขียนแผนที่ถูกจำกัดเฉพาะหลักเบื้องต้น(Basic Elements) ของวิทยาศาสตร์การทำแผนที่ต้องการความถูกต้องและมีข้อมูลมากๆ แผนที่เองจะทำหน้าที่สำคัญ 2 ประการ
1.ใช้สำหรับการเขียนข้อมูลข่าวสารที่คนต้องการ
2. ใช้แสดงภาพของพื้นที่โลกที่จะช่วยให้เราเข้าใจสิ่งแวดล้อมในด้าน Spatial Pattern, Relationship and Spatial Complexity

เมื่อมีการนำคอมพิวเตอร์มาปฏิวัติงานเขียนแผนที่เชิงเลขสามารถทำหน้าที่แทนวิธีการแบบดั้งเดิมได้อย่างน่าพอใจ นอกจากนี้อังทำให้ผลงานมีความแตกต่างอย่างน้อย 2 ประการ คือ
1. ทำให้เกิดฐานข้อมูลเชิงเลข (Digital Database) มาแทนแผนที่กระดาษ (Print Map)
2. ทำให้แผนที่ในรูปแบบ Cartographic Visualizations สามารถทำได้บนสื่อหลายประเภท

ทุกวันนี้ HW และ SW คอมพิวเตอร์เป็นเครื่องช่วยให้นักเขียนแผนที่ทำงานแทนวิธีการอะนาล็อกเก่าๆ ได้เกือบทั้งหมด ยกเว้นเทคนิคบางอย่างที่เป็นอัตนัย เช่น
- Feature Generalization
- งานนามศัพท์ภูมิศาสตร์ (Geographic Name Placement)

สิ่งที่สำคัญต่อนักเขียนแผนที่ในอนาคตคือมาตรฐานข้อมูลแผนที่ เพราะมาตรฐานข้อมูลแผนที่เป็นสิ่งที่จำเป็นสำหรับวิธีการเก็บข้อมูล คุณภาพข้อมูล(Data Quality) การเปลี่ยนแปลงข้อมูล (Data Exchange) และการทำงานร่วมกับฮาร์เวร์และซอฟเวร์

วันจันทร์ที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2552

ฮิสโทแกรม (histogram)


เกี่ยวกับฮิสโทแกรม (histogram)
ฮิสโทแกรม (histogram) เป็นกราฟที่แสดงจำนวนข้อมูลต่างๆของภาพ ซึ่งช่วยให้ง่ายต่อการตรวจสอบความสว่างและความมืดของภาพ หรือทิศทางของสีที่ใช้ท่านสามารถตรวจสอบค่าฮิสโทแกรม (histogram) ในกล้องได้ดังต่อไปนี้
• การแสดงค่าความสว่าง (Brightness Display): ระดับค่าความสว่างและ gradation โดยรวม
• การแสดงค่า RGB: Color saturation และ gradation
สำหรับข้อมูลเกี่ยวกับการแสดงฮิสโทแกรม (histogram) โปรดดูรายละเอียดใน ท่านสามารถแสดงข้อมูลในการถ่ายภาพระหว่างการเรียกดูภาพได้อย่างไร?
ท่านสามารถสับเปลี่ยนการแสดงผลระหว่าง [Brightness] และ [RGB] ได้ โดยใช้รายการเมนูที่แสดงขึ้นบนหน้าจอ LCD
[Brightness] การแสดงค่าความสว่าง
ฮิสโทแกรม (histogram) นี้จะแสดงกราฟความสว่างของภาพในแนวนอน (Left: Dark; Right: Bright) และไล่จำนวนพิกเซลที่ระดับความสว่างของภาพในแนวตั้ง
ในหน้าจอ ยอดของกราฟที่มีแนวโน้มไปทางด้านซ้ายนั้นเป็นการแสดงค่าของภาพถ่ายที่มืด และยอดของกราฟที่มีแนวโน้มไปทางด้านขวานั้นเป็นการแสดงค่าของภาพถ่ายที่มีความสว่าง โดยตรงบริเวณส่วนอื่นๆนั้นจะเป็นค่า gradation
ในฮิสโทแกรม (histogram) ท่านสามารถตรวจสอบระดับค่าความสว่างของแสงและ gradation ในภาพได้
การแสดงค่า RGB
ฮิสโทแกรม (histogram) นี้จะแสดงกราฟความสว่างของภาพในแนวนอน (Left: Dark; Right: Bright) และไล่จำนวนพิกเซลที่ระดับความสว่างของภาพในแนวตั้งในแต่ละสี R (Red)/G (Green)/B (Blue)
ในหน้าจอ ยอดของกราฟที่มีแนวโน้มไปทางด้านซ้ายนั้นเป็นการแสดงค่าของภาพถ่ายที่มืด สีของภาพจะดูจาง และยอดของกราฟที่มีแนวโน้มไปทางด้านขวานั้นเป็นการแสดงค่าของภาพถ่ายที่มีความสว่าง ซึ่งสีของภาพจะดูทึบกว่า ส่วนประกอบทางด้านซ้ายนั้นจะมีข้อมูลสีเพียงนิดเดียวหรือแทบไม่มีเลย และส่วนประกอบทางด้านขวานั้นจะเป้นค่าความอิ่มตัวของสี (saturated) โดยที่ไม่มี gradation
ในฮิสโทแกรม (histogram) ท่านสามารถตรวจสอบระดับค่า saturation ของสี และ gradations ในภาพได้

ประวัติวันคริสต์มาส


วันคริสต์มาสเป็นวันหยุดประจำปี ที่จัดขึ้นเพื่อเฉลิมฉลองการประสูติของพระเยซูซึ่งตรงกับวันที่ 25 ธันวาคม โดยวันดังกล่าวอาจจะไม่ตรงกับวันเกิดจริงๆของพระเยซู แต่อาจจะเป็นวันที่ถูกเลือกเอาไว้เพื่อให้สอดคล้องกับเทศกาลโรมัน หรือสอดคล้องกับวันที่มีช่วงเวลากลางวันสั้นที่สุด (winter solstice) คริสต์มาสเป็นเทศกาลที่สำคัญ และมีการฉลองอย่างยิ่งใหญ่ ในย่านของชาวคริสเตียนนั้นจะมีการจัดเทศกาลนี้ยาวนานถึง 12
คำว่า คริสต์มาส มีที่มาจากคำประสม คำว่า “Christ's Mass” ซึ่งมีรากคำมาจากคำว่า Christemasse ของภาษาอังกฤษยุคกลาง และ คำว่า Cristes mæsse จากภาษาอังกฤษโบราณซึ่งมีการบันทึกคำดังกล่าวครั้งแรกไว้ในปี 1038
คำว่า Cristes มาจากพระเยซูคริสต์ของกรีก และคำว่า mæsse มาจากหนังสือสวดมนตร์ของชาวละติน ในภาษากรีกตัวอักษร X เป็นตัวอักษรแรกของคำว่า “Christ” ซึ่งคล้ายกับตัว X ในภาษาโรมัน จึงมีการใช้ X แทน Christ ตั้งแต่กลางศตวรรษที่ 16 ดังนั้นจึงนิยมใช้คำว่า Xmas แทน Christmas

เทศกาลฤดูหนาวคือเทศกาลที่ประชาชนให้ความนิยมสูงสุดกันมาช้านานในหลายประเทศด้วยเหตุผลหลายประการ รวมถึงงานด้านเกษตรกรรมมีไม่มากนักในช่วงฤดูหนาวและเพราะการตั้งความหวังว่าสภาพอากาศจะดีขึ้นเมื่อฤดูใบไม้ผลิแวะเวียนมาถึงกิจกรรมของคริสต์มาสสมัยใหม่นั้น ประกอบด้วย การมอบของขวัญ การเฉลิมฉลองเพื่อบูชาเทพเจ้าของชาวโรมันการประดับสถานที่ด้วยพืชพันธุ์สีเขียวและแสงไฟ รวมถึงงานการกุศลในวันปีใหม่ของชาวโรมันการก่อกองไฟจากท่อนไม้ขนาดใหญ่ และสำหรับชาวเยอรมันจะมีการเลี้ยงฉลองด้วยอากหารหลากชนิดปฏิทินของชาวเพเกน สแกนดิเนียเวีย ฉลองเทศกาลฤดูหนาวโดยใช้ชื่อว่า ยูล ซึ่งจะจัดขึ้นในปลายเดือนธันวาคมถึงต้นเดือนมกราคม เนื่องจากทางตอนเหนือของยุโรปเป็นพื้นที่ท้ายๆที่นับถือศาสนาคริสต์ ซึ่งวัฒนธรรมเพเกนเองก็ได้รับอิทธิพลมาจากวันคริสต์มาสชาวสแกนดิเนเวียนยังคงเรียกวันคริสต์มาสว่า คริสต์มาส จูล ในภาษาอังกฤษคำว่ายูลนั้นมีความหมายเหมือนกับคำว่าคริสต์มาส ซึ่งมีการบันทึกการใช้ครั้งแรกในปี 900