ทะเลไม่เคยหลับ
.....ด้วยหลักการดังกล่าว นักนิเวศวิทยาต่างลงความเห็นว่า ความแปรปวนของธรรมชาติที่เกิดขึ้นไม่ว่า ฝนตกดินถล่ม น้ำท่วม ล้วนมีปัจจัยมาจากการเปลี่ยนแปลงธรรมชาติ ทั้งการตัดไม้ทำลายป่า การใช้ทรัพยากรดินน้ำอย่างไม่เหมาะสม ฯลฯ ไม่ว่าตัวแปรเริ่มต้นของการเปลี่ยนแปลงครั้งนี้คืออะไร แต่ผลที่เกิดขึ้นประจักษ์ชัดแก่สายตาแล้วสำหรับชาวบ้านที่อยู่ริมทะเล เสาไฟฟ้าที่เคยตั้งอยู่ข้างถนน วันนี้กลับยืนเข้าแถวเรียงราวอยู่ห่างจากชายฝั่งไปหลายร้อยเมตร
• ในระยะหลังกระแสลมเปลี่ยนทิศทางและมีความรุนแรงมากขึ้น จนเป็นสาเหตุให้เกิดคลื่นในทะเลสูง และเกิดลมมรสุมเพิ่มมากขึ้น
...."สังเกตดูว่าคลื่นลมในทะเลเกิดการเปลี่ยนทิศทาง คลื่นแถบอ่าวไทยที่ปกติสูง 1 เมตร ก็เพิ่มเป็น 2 เมตร ขณะที่ฝั่งอันดามันก็มีคลื่นสูงเป็น 4-5 เมตร จากเดิมเคยมีคลื่นสูงราว 2- 3 เมตร เดิม 3-5 ปีจะมีพายุจรพัดมาสักลูก แต่ในช่วง 10 ปีนี้เกิดพายุเฉลี่ย 1-2 ปี หนึ่งลูก" นักวิชาการกล่าว
• ไทยยังได้รับอิทธิพลจากพายุโซนร้อนหรือลมพายุจร ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นลมพายุดีเปรสชัน มีจุดกำเนิดจากบริเวณทะเลจีนใต้และมีส่วนน้อยที่เกิดในบริเวณมหาสมุทรแปซิฟิก โดยพายุโซนร้อนจะเคลื่อนตัวเข้าสู่ประเทศไทยในช่วงเดือนมิถุนายนถึงสิงหาคมเคลื่อนผ่านภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคตะวันออกของประเทศในช่วงเดือนตุลาคมถึงเดือนธันวาคม และจะเคลื่อนตัวผ่านภาคตะวันออก ภาคกลาง และภาคใต้ฝั่งตะวันออกของประเทศ
• ปัจจัยที่ส่งผลให้ระดับน้ำทะเลเปลี่ยนแปลงอีกตัวหนึ่งคือ อุณหภูมิของโลกที่สูงขึ้น "จากการคาดการณ์ของแบบจำลองการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิ พบว่าอุณหภูมิโลกจะสูงขึ้น 1.2-2 องศาเซลเซียส หรืออาจจะสูงขึ้นถึง 3.5-5 องศาเซลเซียสในอีก 40-50 ปีข้างหน้า ซึ่งการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวมีผลทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของฤดูกาล หรือทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของลมพายุมากขึ้นในอนาคต และมีผลต่อระดับน้ำทะเล" นักวิชาการจุฬาฯ กล่าว
• สำหรับระดับน้ำทะเลทั่วโลกซึ่งได้จากสถานีวัดน้ำทะเลทวีปต่างๆ พบว่ามีการเปลี่ยนแปลงเพิ่มขึ้น 12-15 เซนติเมตร ซึ่งคาดว่าระดับน้ำทะเลจะเพิ่มขึ้นจากอุณหภูมิโลก เพราะบางแห่งที่เกิดระดับน้ำทะเลเพิ่มขึ้นจะเกิดการทรุดตัวของแผ่นดิน หรือระดับน้ำทะเลเพิ่มสูงขึ้นผสมกับเกิดการทรุดตัวของแผ่นดินได้
• ขณะเดียวกัน มีการประเมินระดับน้ำทะเลใน 20 ปีข้างหน้าพบว่า ระดับน้ำจะเพิ่มสูงขึ้นอีกไม่น้อยกว่า 30 เซนติเมตรเช่นกัน ซึ่งจะส่งผลให้เกิดปัญหาน้ำท่วม การเปลี่ยนแปลงของพายุโซนร้อน และหากแผ่นดินทรุดยังเกิดอย่างต่อเนื่อง บวกกับระดับน้ำทะเลทั่วโลกเพิ่มสูงขึ้นเนื่องจากอุณหภูมิโลกที่สูงขึ้น โดยไม่มีมาตรการอะไรมาแก้ปัญหาเลย สุดท้ายกรุงเทพฯและปริมณฑลหายไปเกือบครึ่งเมือง เนื่องจากขณะนี้ไม่มีพื้นที่รับน้ำเหลืออยู่แล้ว
• "การเปลี่ยนแปลงของกระแสลม และการลดลงของพื้นที่ป่าชายเลนส่งผลให้ ปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งเพิ่มความรุนแรงมากขึ้น โดยพื้นที่ชายฝั่งทะเลของไทยหายไปจำนวนมาก" รศ.ดร.ธนวัฒน์ กล่าวเสริม
• การลดลงของป่าชายเลนทั้งด้านอ่าวไทยและอันดามันมีสาเหตุ 2 ประการ คือการตัดไม้ป่าชายเลน เพื่อการผลิตถ่านไม้ และการปรับพื้นที่ป่าชายเลนเพื่อการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง ซึ่งการลดลงของพื้นที่ป่าชายเลนดังกล่าว เป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่ทำให้เกิดการกัดเซาะชายฝั่งทะเลเพิ่มมากขึ้น
• สถานการณ์กัดเซาะชายฝั่งเพิ่มความรุนแรงมากขึ้น โดยขณะนี้จังหวัดริมชายฝั่งทะเลทั้ง 23 จังหวัด ทั้งแถบฝั่งอ่าวไทย และฝั่งอันดามันประสบปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งอย่างรุนแรง คิดเป็นพื้นที่ประมาณ 599 กิโลเมตร หรือ 21% ของพื้นที่ชายฝั่ง 2,667 กิโลเมตร โดยเฉพาะอย่างยิ่งบริเวณปากแม่น้ำบางปะกงจนถึงปากแม่น้ำแม่คลองครอบคลุม 5 จังหวัดได้แก่ ฉะเชิงเทรา สมุทรปราการ กทม. สมุทรสาคร สมุทรสงคราม ซึ่งค่อนข้างอ่อนไหวและมีการกัดเซาะรุนแรงที่สุดของประเทศ เนื่องจากบางพื้นที่มีอัตราการกัดเซาะชายฝั่งมากกว่า 25 เมตรต่อปี
• สำหรับจังหวัดสมุทรสงครามจุดที่ประสบปัญหามากแถวบริเวณบ้านขุนสมุทรจีน ซึ่งในรอบ 38 ปีที่ขณะนี้พื้นที่หายไป 11,000 ไร่ และจากการทำแบบจำลองอีก 20 ปี จะหายไปอีก 37,000 ไร่ ซึ่งกระทบกับชาวบ้านโดยตรง
• พื้นที่ดังกล่าวจะใช้เป็นพื้นที่นำร่องในการแก้ปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งแบบเป็นระบบโดยได้รับงบฯ จากสำนักงาน กองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.)จะทดลองทำโมเดลโดยผสมผสานทั้งโครงสร้าง ปลูกป่าชายเลน และ การเติมตะกอนดินในระยะทาง 400 เมตรใช้ระยะเวลา 1-2 ปี
วันพฤหัสบดีที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553
วันพฤหัสบดีที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553
พื้นหลักฐานอ้างอิงของประเทศไทย
ในการกำหนดตำแหน่งบนพื้นผิวโลกให้มีความถูกต้องนั้นนอกจากวิธีที่ใช้ในการรังวัดจะต้องมีความถูกต้องสูงแล้ว สิ่งที่มีความสำคัญไม่น้อยไปกว่ากัน คือพื้นหลักฐานอ้างอิง (reference datum) ซึ่งใช้เป็นระบบอ้างอิงในการหาตำแหน่ง (reference system) และโครงข่ายทางยีออเดซี (geodetic network) ซึ่งประกอบด้วยหมุดหลักฐานที่รังวัดเชื่อมโยงกันเป็นโครงข่ายและมีค่าพิกัดบนระบบอ้างอิง โดยเสมือนว่าค่าพิกัดของหมุดหลักฐานในโครงข่ายมีความถูกต้องทางตำแหน่งบนพื้นโลก หากระบบอ้างอิงหรือโครงข่ายมีความคลาดเคลื่อน (error) ย่อมส่งผลให้การหาตำแหน่งพิกัดมีความคลาดเคลื่อน ดังนั้นประเทศต่างๆในโลก จึงพยายามเลือกระบบอ้างอิงที่มีความถูกต้องสูง และใช้เทคนิควิธีการรังวัดที่ให้ความถูกต้องสูงในการสร้างโครงข่ายให้ครอบคลุมประเทศ หากจะกล่าวถึงวิธีในการรังวัดหาตำแหน่งที่มีความถูกต้องสูง ในปัจจุบันเทคนิคการรังวัดด้วยดาวเทียม GPS (Global Positioning System) เป็นวิธีที่ใช้กันอย่างแพร่หลาย เพราะสามารถให้ความถูกต้องสูงถึง 1:1,000,000 และค่าพิกัดที่ได้จากการรังวัด อ้างอิงบนพื้นหลักฐาน WGS84 (World Geodetic System 1984) ซึ่งเป็นระบบอ้างอิงที่ได้รับการยอมรับจากนานาประเทศว่ามีความถูกต้องและมีความเป็นสากล แต่เนื่องจากแผ่นเปลือกโลกได้รับอิทธิพลจากแรงเคลื่อนไหวของธรณีแปรสัณฐาน(tectonic activity) ทำให้ตำแหน่งต่างๆบนผิวโลกมีการเปลี่ยนแปลง จึงมีนักวิทยาศาสตร์กลุ่มหนึ่งได้สร้างและกำหนดระบบอ้างอิงใหม่ ซึ่งมีคุณลักษณะทางกายภาพเช่นเดียวกับพื้นหลักฐาน WGS84 ระบบอ้างอิงดังกล่าวคือ ITRF (International Terrestrial Reference Frame) ปัจจุบันหลายๆประเทศทั่วโลกได้เปลี่ยนมาใช้ระบบพิกัดอ้างอิง ITRF และขยายโครงข่ายให้ครอบคลุมประเทศด้วยเทคนิคการรังวัด GPS ดังเช่น ประเทศญี่ปุ่น จีน ออสเตรเลีย และประเทศในแถบภาคพื้นทวีปยุโรป เป็นต้น
กรมแผนที่ทหาร โดยกองยีออเดซีและยีออฟิสิกส์ เป็นหน่วยงานที่รับผิดชอบในการสร้างโครงข่ายทางยีออเดซี่ของประเทศไทย ได้เริ่มงานรังวัดโครงข่ายด้วยดาวเทียม GPS ตั้งแต่ปี พ.ศ.2534 (ค.ศ.1991) และได้พัฒนาโครงข่ายอย่างต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน และยังได้ร่วมในโครงการทางด้านยีออเดซี่ ด้วยการรังวัด GPS ในระดับนานาชาติหลายโครงการ ดังเช่น โครงการตรวจสอบการเคลื่อนคัวของเปลือกโลก และโครงการ THAICA กับหน่วยงาน IfAG ( Institut fur Angewandte Geodasie) ประเทศเยอรมัน , โครงการหาค่าพิกัดบนพื้นหลักฐาน WGS84 ด้วยวิธีการรังวัดแบบสัมบูรณ์ร่วมกับหน่วยงาน NIMA (National Imagery Mapping Agency) , โครงการจัดทำหลักเขตแดนระหว่างประเทศ กับประเทศเพื่อนบ้าน, โครงการสถานีติดตามดาวเทียม GPS ถาวรในประเทศไทย เพื่อใช้เป็นข้อมูลการปรับแก้วงโคจรของดาวเทียม GPS และตรวจสอบการเคลื่อนตัวของเปลือกโลกในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ซึ่งกำลังอยู่ในระหว่างดำเนินการร่วมกับสถาบัน DEOS ประเทศเนเธอร์แลนด์ เป็นต้น ผลจากการเข้าร่วมโครงการต่างๆ เหล่านี้ ทำให้โครงข่าย GPS ของประเทศไทย มีข้อมูลการรังวัด และสถานีควบคุมที่มีความน่าเชื่อถือและถูกต้องสูง อย่างเพียงพอ และในระหว่างนี้ กรมแผนที่ทหาร ได้จัดทำแผนที่มูลฐานมาตราส่วน 1:50000 ชุด L7018 ที่ระบบพิกัดของแผนที่ในชุดนี้ อ้างอิงบนพื้นหลักฐาน WGS84 ดังนั้น กดฟ.ผท.ทหาร จึงได้ดำเนินการปรับแก้โครงข่ายทั่วประเทศ โดยใช้ข้อมูลที่มีอยู่ในปัจจุบัน ให้เกิดประโยชน์ต่อโครงข่ายมากที่สุด เพื่อให้โครงข่ายมีความถูกต้อง, มีความน่าเชื่อถือสูง, มีความเป็นเอกภาพ, สามารถนำไปใช้เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาประเทศ, สามารถพัฒนานำไปใช้กับระบบต่างๆ ที่ต้องการความละเอียดถูกต้องทางตำแหน่งสูง, สามารถใช้เป็นโครงข่ายอ้างอิงของประเทศ และสามารถนำไปใช้ศึกษาวิเคราะห์งานทางด้านวิทยาศาสตร์หรืองานทางด้านยีออเดซี่ เพื่อให้มองเห็นภาพและลำดับของการพัฒนางานโครงข่ายยีออเดซี่ของประเทศไทยโดยกรมแผนที่ทหารตั้งแต่งานโครงข่ายสามเหลี่ยมในอดีตจนถึงโครงข่าย GPS ในปัจจุบัน จึงจะขอกล่าวในรายละเอียดตามลำดับดังต่อไปนี้
พื้นหลักฐานราชบุรี
โครงข่ายทางยีออเดซีของประเทศไทยได้พัฒนาอย่างต่อเนื่องมาตลอดตั้งแต่ในอดีต นับตั้งแต่ประเทศอินเดียได้กำหนดจุดศูนย์กำเนิดของรูปทรงรีเอเวอร์เรสท์ 1830 ที่ภูเขากะเลียนเปอร์ รังวัดขยายโครงข่ายสามเหลี่ยมชั้นที่หนึ่งออกไปทั่วภูมิภาค ผ่านประเทศพม่าจนถึงเขตแดนไทยที่ เขาหลวง จ.ราชบุรี และปรับแก้แล้วเสร็จเมื่อปี พ.ศ.2442 ต่อมาในปี พ.ศ.2450 กรมแผนที่ไทยในสมัยนั้น ได้รังวัดโครงข่ายงานสามเหลี่ยมชั้นที่หนึ่ง เชื่อมโยงกับหมุดหลักฐานที่เขาหลวง และทำการรังวัดเส้นฐานราชบุรี พร้อมกับการรังวัดอะซิมุทดาราศาสตร์ จากเขาแง้มไปเขางู เพื่อใช้เป็นสถานีแรกออกในการรังวัดขยายโครงข่ายออกไปทั่วประเทศ ประเทศไทยมีโครงข่ายควบคุมทางราบเป็นโครงข่ายแรกอ้างอิงกับพื้นหลักฐานราชบุรี โดยมีค่าพิกัดแรกออกที่ เขาหลวง จ.ราชบุรี ดังนี้
ละติจูด 13o 43’ 30”.34 เหนือ
ลองจิจูด 99 o 32’ 22”.94 ตะวันออก
อะซิมุทจากใต้ เขาแง้ม – เขางู 179 o 44’ 34”.308
รูปทรงรี เอเวอร์เรสท์ 1830
(a = 6377276.345 เมตร , f = 1/300.8017)
โครงขายหมุดหลักฐานทางราบแห่งประเทศไทย
กรมแผนที่ทหาร โดยกองยีออเดซีและยีออฟิสิกส์ เป็นหน่วยงานที่รับผิดชอบในการสร้างโครงข่ายทางยีออเดซี่ของประเทศไทย ได้เริ่มงานรังวัดโครงข่ายด้วยดาวเทียม GPS ตั้งแต่ปี พ.ศ.2534 (ค.ศ.1991) และได้พัฒนาโครงข่ายอย่างต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน และยังได้ร่วมในโครงการทางด้านยีออเดซี่ ด้วยการรังวัด GPS ในระดับนานาชาติหลายโครงการ ดังเช่น โครงการตรวจสอบการเคลื่อนคัวของเปลือกโลก และโครงการ THAICA กับหน่วยงาน IfAG ( Institut fur Angewandte Geodasie) ประเทศเยอรมัน , โครงการหาค่าพิกัดบนพื้นหลักฐาน WGS84 ด้วยวิธีการรังวัดแบบสัมบูรณ์ร่วมกับหน่วยงาน NIMA (National Imagery Mapping Agency) , โครงการจัดทำหลักเขตแดนระหว่างประเทศ กับประเทศเพื่อนบ้าน, โครงการสถานีติดตามดาวเทียม GPS ถาวรในประเทศไทย เพื่อใช้เป็นข้อมูลการปรับแก้วงโคจรของดาวเทียม GPS และตรวจสอบการเคลื่อนตัวของเปลือกโลกในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ซึ่งกำลังอยู่ในระหว่างดำเนินการร่วมกับสถาบัน DEOS ประเทศเนเธอร์แลนด์ เป็นต้น ผลจากการเข้าร่วมโครงการต่างๆ เหล่านี้ ทำให้โครงข่าย GPS ของประเทศไทย มีข้อมูลการรังวัด และสถานีควบคุมที่มีความน่าเชื่อถือและถูกต้องสูง อย่างเพียงพอ และในระหว่างนี้ กรมแผนที่ทหาร ได้จัดทำแผนที่มูลฐานมาตราส่วน 1:50000 ชุด L7018 ที่ระบบพิกัดของแผนที่ในชุดนี้ อ้างอิงบนพื้นหลักฐาน WGS84 ดังนั้น กดฟ.ผท.ทหาร จึงได้ดำเนินการปรับแก้โครงข่ายทั่วประเทศ โดยใช้ข้อมูลที่มีอยู่ในปัจจุบัน ให้เกิดประโยชน์ต่อโครงข่ายมากที่สุด เพื่อให้โครงข่ายมีความถูกต้อง, มีความน่าเชื่อถือสูง, มีความเป็นเอกภาพ, สามารถนำไปใช้เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาประเทศ, สามารถพัฒนานำไปใช้กับระบบต่างๆ ที่ต้องการความละเอียดถูกต้องทางตำแหน่งสูง, สามารถใช้เป็นโครงข่ายอ้างอิงของประเทศ และสามารถนำไปใช้ศึกษาวิเคราะห์งานทางด้านวิทยาศาสตร์หรืองานทางด้านยีออเดซี่ เพื่อให้มองเห็นภาพและลำดับของการพัฒนางานโครงข่ายยีออเดซี่ของประเทศไทยโดยกรมแผนที่ทหารตั้งแต่งานโครงข่ายสามเหลี่ยมในอดีตจนถึงโครงข่าย GPS ในปัจจุบัน จึงจะขอกล่าวในรายละเอียดตามลำดับดังต่อไปนี้
พื้นหลักฐานราชบุรี
โครงข่ายทางยีออเดซีของประเทศไทยได้พัฒนาอย่างต่อเนื่องมาตลอดตั้งแต่ในอดีต นับตั้งแต่ประเทศอินเดียได้กำหนดจุดศูนย์กำเนิดของรูปทรงรีเอเวอร์เรสท์ 1830 ที่ภูเขากะเลียนเปอร์ รังวัดขยายโครงข่ายสามเหลี่ยมชั้นที่หนึ่งออกไปทั่วภูมิภาค ผ่านประเทศพม่าจนถึงเขตแดนไทยที่ เขาหลวง จ.ราชบุรี และปรับแก้แล้วเสร็จเมื่อปี พ.ศ.2442 ต่อมาในปี พ.ศ.2450 กรมแผนที่ไทยในสมัยนั้น ได้รังวัดโครงข่ายงานสามเหลี่ยมชั้นที่หนึ่ง เชื่อมโยงกับหมุดหลักฐานที่เขาหลวง และทำการรังวัดเส้นฐานราชบุรี พร้อมกับการรังวัดอะซิมุทดาราศาสตร์ จากเขาแง้มไปเขางู เพื่อใช้เป็นสถานีแรกออกในการรังวัดขยายโครงข่ายออกไปทั่วประเทศ ประเทศไทยมีโครงข่ายควบคุมทางราบเป็นโครงข่ายแรกอ้างอิงกับพื้นหลักฐานราชบุรี โดยมีค่าพิกัดแรกออกที่ เขาหลวง จ.ราชบุรี ดังนี้
ละติจูด 13o 43’ 30”.34 เหนือ
ลองจิจูด 99 o 32’ 22”.94 ตะวันออก
อะซิมุทจากใต้ เขาแง้ม – เขางู 179 o 44’ 34”.308
รูปทรงรี เอเวอร์เรสท์ 1830
(a = 6377276.345 เมตร , f = 1/300.8017)
โครงขายหมุดหลักฐานทางราบแห่งประเทศไทย
วันจันทร์ที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553
ประเทศลาว
ลักษณะภูมิประเทศ
ประเทศลาวเป็นประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งตั้งอยู่บนใจกลางของคาบสมุทรอินโดจีน ระหว่างละติจูดที่ 14 - 23 องศาเหนือ ลองติจูดที่ 100 - 108 องศาตะวันออก มีพื้นที่โดยรวมประมาณ 236,800 ตารางกิโลเมตร แบ่งเป็นภาคพื้นดิน 230,800 ตารางกิโลเมตร ภาคพื้นน้ำ 6,000 km² โดยลาวเป็นประเทศที่ไม่มีทางออกสู่ทะเล เนื่องด้วยตลอดแนวชายแดนของประเทศลาว ซึ่งมีความยาวรวม 5,083 กิโลเมตร ล้อมรอบด้วยชายแดนของประเทศเพื่อนบ้าน 5 ประเทศ ดังนี้
• ประเทศจีนทางด้านทิศเหนือ (1 กิโลเมตร)
• ประเทศไทยทางด้านทิศใต้และทิศตะวันตก (1,754 กิโลเมตร)
• ประเทศกัมพูชาทางด้านทิศใต้ (541 กิโลเมตร)
• ประเทศเวียดนามทางด้านทิศตะวันออก (2,130 กิโลเมตร)
• ประเทศพม่าทางด้านทิศตะวันตก (235 กิโลเมตร)
ภูมิประเทศของลาวอาจแบบได้เป็น 3 เขต คือ
1. เขตภูเขาสูง เป็นพื้นที่ที่สูงกว่าระดับน้ำทะเลโดยเฉลี่ย 1,500 เมตรขึ้นไป พื้นที่นี้อยู่ในเขตภาคเหนือของประเทศ
2. เขตที่ราบสูง คือพื้นที่ซึ่งสูงกว่าระดับน้ำทะเลเฉลี่ย 1,000 เมตร ปรากฏตั้งแต่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของที่ราบสูงเมืองพวนไปจนถึงชายแดนกัมพูชา เขตที่ราบสูงนี้มีที่ราบสูงขนาดใหญ่อยู่ 3 แห่ง ได้แก่ ที่ราบสูงเมืองพวน (แขวงเชียงขวาง), ที่ราบสูงนากาย (แขวงคำม่วน) และที่ราบสูงบริเวณ (ภาคใต้)
3. เขตที่ราบลุ่ม เป็นเขตที่ราบตามแนวฝั่งแม่น้ำโขงและแม่น้ำต่างๆ เป็นพื้นที่ที่มีความอุดมสมบูรณ์มากที่สุดในเขตพื้นที่ทั้ง 3 เขต นับเป็นพื้นที่อู่ข้าวอู่น้ำที่สำคัญของประเทศ แนวที่ราบลุ่มเหล่านี้เริ่มปรากฏตั้งแต่บริเวณตอนใต้ของแม่น้ำงึม เรียกว่า ที่ราบลุ่มเวียงจันทน์ ผ่านที่ราบลุ่มสะหวันนะเขด ซึ่งอยู่ตอนใต้เซบั้งไฟและเซบั้งเหียง และที่ราบจำปาสักทางภาคใต้ของลาว ซึ่งปรากฏตามแนวแม่น้ำโขงเรื่อยไปจนจดชายแดนประเทศกัมพูชา
ทั้งนี้ เมื่อนำเอาพื้นที่ของเขตภูเขาสูงและเขตที่ราบสูงมารวมกันแล้ว จะมากถึง 3 ใน 4 ของพื้นที่ประเทศลาวทั้งหมด โดยจุดที่สูงที่สุดของประเทศลาวอยู่ที่ภูเบี้ย ในแขวงเชียงขวาง วัดความสูงได้ 2,817 เมตร (9,242 ฟุต)
ประเทศลาวมีแม่น้ำสายสำคัญอยู่หลายสาย โดยแม่น้ำซึ่งเป็นสายหัวใจหลักของประเทศคือแม่น้ำโขง ซึ่งไหลผ่านประเทศลาวเป็นระยะทาง 1,835 กิโลเมตร แม่น้ำสายนี้เป็นแม่น้ำสำคัญทั้งในด้านเกษตรกรรม การประมง การผลิตพลังงานไฟฟ้า การคมนาคมจากลาวเหนือไปจนถึงลาวใต้ และการใช้เป็นพรมแดนธรรมชาติระหว่างประเทศลาวกับประเทศเพื่อนบ้าน นอกจากนี้ แม่น้ำสายสำคัญของลาวแห่งอื่นๆ ยังได้แก่ แม่น้ำอู , แม่น้ำงึม , แม่น้ำเซบั้งเหียง , แม่น้ำทา แม่น้ำเซกอง , แม่น้ำเซบั้งไฟ , แม่น้ำแบ่ง , แม่น้ำเซโดน , แม่น้ำเซละนอง , แม่น้ำกะดิ่ง ,แม่น้ำคาน
ลักษณะภูมิอากาศ
สปป. ลาวอยู่ในภูมิอากาศเขตร้อน มีลมมรสุมแต่ไม่มีลมพายุ สำหรับเขตภูเขาภาคเหนือ และ เขตเทือกเขา อากาศมีลักษณะกึ่งร้อนกึ่งหนาว อุณหภูมิสะสมเฉลี่ยประจำปีสูงถึง 15-30 องศาเซลเซียส และความแตกต่างของอุณหภูมิระหว่างกลางวันและกลางคืนมีประมาณ 10 องศาเซลเซียส จำนวนชั่วโมงที่มีแสงแดดต่อปีประมาณ 2,300 - 2,400 ชั่วโมง (ประมาณ 6.3 - 6.5 ชั่วโมงต่อวัน) ความชื้นสัมพัทธ์ของอากาศมีประมาณร้อยละ 70 - 85 ปริมาณน้ำฝนในฤดูฝน (ตั้งแต่เดือนพฤษภาคม ถึงตุลาคม) มีร้อยละ 75 - 90 ส่วนในฤดูแล้ง (ตั้งแต่เดือนพฤษจิกายน ถึงเมษายน) ปริมาณน้ำฝนมีเพียงร้อยละ 10 - 25 และปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยต่อปีของแต่เขตก็แตกต่างกันอย่างมากมาย เช่น เขตเทือกเขาบริเวณทางใต้ได้รับน้ำฝนเฉลี่ยปีละ 300 เซนติเมตร ขณะที่บริเวณแขวงเซียงขวางแขวงหลวงพะบาง แขวงไซยะบุลี ได้รับเพียงแค่ 100 - 150 เซนติเมตร ส่วนแขวงเวียงจันและสะหวันนะเขดในช่วง 150 - 200 เซนติเมตร เช่นเดียวกับแขวงพงสาลี แขวงหลวงน้ำทา และแขวงบ่อแก้ว
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)