วันพฤหัสบดีที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

แผ่นดินที่หายไป:ผลกระทบของผีเสื้อขยับปีก

ทะเลไม่เคยหลับ
.....ด้วยหลักการดังกล่าว นักนิเวศวิทยาต่างลงความเห็นว่า ความแปรปวนของธรรมชาติที่เกิดขึ้นไม่ว่า ฝนตกดินถล่ม น้ำท่วม ล้วนมีปัจจัยมาจากการเปลี่ยนแปลงธรรมชาติ ทั้งการตัดไม้ทำลายป่า การใช้ทรัพยากรดินน้ำอย่างไม่เหมาะสม ฯลฯ ไม่ว่าตัวแปรเริ่มต้นของการเปลี่ยนแปลงครั้งนี้คืออะไร แต่ผลที่เกิดขึ้นประจักษ์ชัดแก่สายตาแล้วสำหรับชาวบ้านที่อยู่ริมทะเล เสาไฟฟ้าที่เคยตั้งอยู่ข้างถนน วันนี้กลับยืนเข้าแถวเรียงราวอยู่ห่างจากชายฝั่งไปหลายร้อยเมตร
• ในระยะหลังกระแสลมเปลี่ยนทิศทางและมีความรุนแรงมากขึ้น จนเป็นสาเหตุให้เกิดคลื่นในทะเลสูง และเกิดลมมรสุมเพิ่มมากขึ้น
...."สังเกตดูว่าคลื่นลมในทะเลเกิดการเปลี่ยนทิศทาง คลื่นแถบอ่าวไทยที่ปกติสูง 1 เมตร ก็เพิ่มเป็น 2 เมตร ขณะที่ฝั่งอันดามันก็มีคลื่นสูงเป็น 4-5 เมตร จากเดิมเคยมีคลื่นสูงราว 2- 3 เมตร เดิม 3-5 ปีจะมีพายุจรพัดมาสักลูก แต่ในช่วง 10 ปีนี้เกิดพายุเฉลี่ย 1-2 ปี หนึ่งลูก" นักวิชาการกล่าว
• ไทยยังได้รับอิทธิพลจากพายุโซนร้อนหรือลมพายุจร ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นลมพายุดีเปรสชัน มีจุดกำเนิดจากบริเวณทะเลจีนใต้และมีส่วนน้อยที่เกิดในบริเวณมหาสมุทรแปซิฟิก โดยพายุโซนร้อนจะเคลื่อนตัวเข้าสู่ประเทศไทยในช่วงเดือนมิถุนายนถึงสิงหาคมเคลื่อนผ่านภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคตะวันออกของประเทศในช่วงเดือนตุลาคมถึงเดือนธันวาคม และจะเคลื่อนตัวผ่านภาคตะวันออก ภาคกลาง และภาคใต้ฝั่งตะวันออกของประเทศ
• ปัจจัยที่ส่งผลให้ระดับน้ำทะเลเปลี่ยนแปลงอีกตัวหนึ่งคือ อุณหภูมิของโลกที่สูงขึ้น "จากการคาดการณ์ของแบบจำลองการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิ พบว่าอุณหภูมิโลกจะสูงขึ้น 1.2-2 องศาเซลเซียส หรืออาจจะสูงขึ้นถึง 3.5-5 องศาเซลเซียสในอีก 40-50 ปีข้างหน้า ซึ่งการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวมีผลทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของฤดูกาล หรือทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของลมพายุมากขึ้นในอนาคต และมีผลต่อระดับน้ำทะเล" นักวิชาการจุฬาฯ กล่าว
• สำหรับระดับน้ำทะเลทั่วโลกซึ่งได้จากสถานีวัดน้ำทะเลทวีปต่างๆ พบว่ามีการเปลี่ยนแปลงเพิ่มขึ้น 12-15 เซนติเมตร ซึ่งคาดว่าระดับน้ำทะเลจะเพิ่มขึ้นจากอุณหภูมิโลก เพราะบางแห่งที่เกิดระดับน้ำทะเลเพิ่มขึ้นจะเกิดการทรุดตัวของแผ่นดิน หรือระดับน้ำทะเลเพิ่มสูงขึ้นผสมกับเกิดการทรุดตัวของแผ่นดินได้
• ขณะเดียวกัน มีการประเมินระดับน้ำทะเลใน 20 ปีข้างหน้าพบว่า ระดับน้ำจะเพิ่มสูงขึ้นอีกไม่น้อยกว่า 30 เซนติเมตรเช่นกัน ซึ่งจะส่งผลให้เกิดปัญหาน้ำท่วม การเปลี่ยนแปลงของพายุโซนร้อน และหากแผ่นดินทรุดยังเกิดอย่างต่อเนื่อง บวกกับระดับน้ำทะเลทั่วโลกเพิ่มสูงขึ้นเนื่องจากอุณหภูมิโลกที่สูงขึ้น โดยไม่มีมาตรการอะไรมาแก้ปัญหาเลย สุดท้ายกรุงเทพฯและปริมณฑลหายไปเกือบครึ่งเมือง เนื่องจากขณะนี้ไม่มีพื้นที่รับน้ำเหลืออยู่แล้ว
• "การเปลี่ยนแปลงของกระแสลม และการลดลงของพื้นที่ป่าชายเลนส่งผลให้ ปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งเพิ่มความรุนแรงมากขึ้น โดยพื้นที่ชายฝั่งทะเลของไทยหายไปจำนวนมาก" รศ.ดร.ธนวัฒน์ กล่าวเสริม
• การลดลงของป่าชายเลนทั้งด้านอ่าวไทยและอันดามันมีสาเหตุ 2 ประการ คือการตัดไม้ป่าชายเลน เพื่อการผลิตถ่านไม้ และการปรับพื้นที่ป่าชายเลนเพื่อการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง ซึ่งการลดลงของพื้นที่ป่าชายเลนดังกล่าว เป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่ทำให้เกิดการกัดเซาะชายฝั่งทะเลเพิ่มมากขึ้น
• สถานการณ์กัดเซาะชายฝั่งเพิ่มความรุนแรงมากขึ้น โดยขณะนี้จังหวัดริมชายฝั่งทะเลทั้ง 23 จังหวัด ทั้งแถบฝั่งอ่าวไทย และฝั่งอันดามันประสบปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งอย่างรุนแรง คิดเป็นพื้นที่ประมาณ 599 กิโลเมตร หรือ 21% ของพื้นที่ชายฝั่ง 2,667 กิโลเมตร โดยเฉพาะอย่างยิ่งบริเวณปากแม่น้ำบางปะกงจนถึงปากแม่น้ำแม่คลองครอบคลุม 5 จังหวัดได้แก่ ฉะเชิงเทรา สมุทรปราการ กทม. สมุทรสาคร สมุทรสงคราม ซึ่งค่อนข้างอ่อนไหวและมีการกัดเซาะรุนแรงที่สุดของประเทศ เนื่องจากบางพื้นที่มีอัตราการกัดเซาะชายฝั่งมากกว่า 25 เมตรต่อปี
• สำหรับจังหวัดสมุทรสงครามจุดที่ประสบปัญหามากแถวบริเวณบ้านขุนสมุทรจีน ซึ่งในรอบ 38 ปีที่ขณะนี้พื้นที่หายไป 11,000 ไร่ และจากการทำแบบจำลองอีก 20 ปี จะหายไปอีก 37,000 ไร่ ซึ่งกระทบกับชาวบ้านโดยตรง
• พื้นที่ดังกล่าวจะใช้เป็นพื้นที่นำร่องในการแก้ปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งแบบเป็นระบบโดยได้รับงบฯ จากสำนักงาน กองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.)จะทดลองทำโมเดลโดยผสมผสานทั้งโครงสร้าง ปลูกป่าชายเลน และ การเติมตะกอนดินในระยะทาง 400 เมตรใช้ระยะเวลา 1-2 ปี

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น