ทะเลไม่เคยหลับ
.....ด้วยหลักการดังกล่าว นักนิเวศวิทยาต่างลงความเห็นว่า ความแปรปวนของธรรมชาติที่เกิดขึ้นไม่ว่า ฝนตกดินถล่ม น้ำท่วม ล้วนมีปัจจัยมาจากการเปลี่ยนแปลงธรรมชาติ ทั้งการตัดไม้ทำลายป่า การใช้ทรัพยากรดินน้ำอย่างไม่เหมาะสม ฯลฯ ไม่ว่าตัวแปรเริ่มต้นของการเปลี่ยนแปลงครั้งนี้คืออะไร แต่ผลที่เกิดขึ้นประจักษ์ชัดแก่สายตาแล้วสำหรับชาวบ้านที่อยู่ริมทะเล เสาไฟฟ้าที่เคยตั้งอยู่ข้างถนน วันนี้กลับยืนเข้าแถวเรียงราวอยู่ห่างจากชายฝั่งไปหลายร้อยเมตร
• ในระยะหลังกระแสลมเปลี่ยนทิศทางและมีความรุนแรงมากขึ้น จนเป็นสาเหตุให้เกิดคลื่นในทะเลสูง และเกิดลมมรสุมเพิ่มมากขึ้น
...."สังเกตดูว่าคลื่นลมในทะเลเกิดการเปลี่ยนทิศทาง คลื่นแถบอ่าวไทยที่ปกติสูง 1 เมตร ก็เพิ่มเป็น 2 เมตร ขณะที่ฝั่งอันดามันก็มีคลื่นสูงเป็น 4-5 เมตร จากเดิมเคยมีคลื่นสูงราว 2- 3 เมตร เดิม 3-5 ปีจะมีพายุจรพัดมาสักลูก แต่ในช่วง 10 ปีนี้เกิดพายุเฉลี่ย 1-2 ปี หนึ่งลูก" นักวิชาการกล่าว
• ไทยยังได้รับอิทธิพลจากพายุโซนร้อนหรือลมพายุจร ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นลมพายุดีเปรสชัน มีจุดกำเนิดจากบริเวณทะเลจีนใต้และมีส่วนน้อยที่เกิดในบริเวณมหาสมุทรแปซิฟิก โดยพายุโซนร้อนจะเคลื่อนตัวเข้าสู่ประเทศไทยในช่วงเดือนมิถุนายนถึงสิงหาคมเคลื่อนผ่านภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคตะวันออกของประเทศในช่วงเดือนตุลาคมถึงเดือนธันวาคม และจะเคลื่อนตัวผ่านภาคตะวันออก ภาคกลาง และภาคใต้ฝั่งตะวันออกของประเทศ
• ปัจจัยที่ส่งผลให้ระดับน้ำทะเลเปลี่ยนแปลงอีกตัวหนึ่งคือ อุณหภูมิของโลกที่สูงขึ้น "จากการคาดการณ์ของแบบจำลองการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิ พบว่าอุณหภูมิโลกจะสูงขึ้น 1.2-2 องศาเซลเซียส หรืออาจจะสูงขึ้นถึง 3.5-5 องศาเซลเซียสในอีก 40-50 ปีข้างหน้า ซึ่งการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวมีผลทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของฤดูกาล หรือทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของลมพายุมากขึ้นในอนาคต และมีผลต่อระดับน้ำทะเล" นักวิชาการจุฬาฯ กล่าว
• สำหรับระดับน้ำทะเลทั่วโลกซึ่งได้จากสถานีวัดน้ำทะเลทวีปต่างๆ พบว่ามีการเปลี่ยนแปลงเพิ่มขึ้น 12-15 เซนติเมตร ซึ่งคาดว่าระดับน้ำทะเลจะเพิ่มขึ้นจากอุณหภูมิโลก เพราะบางแห่งที่เกิดระดับน้ำทะเลเพิ่มขึ้นจะเกิดการทรุดตัวของแผ่นดิน หรือระดับน้ำทะเลเพิ่มสูงขึ้นผสมกับเกิดการทรุดตัวของแผ่นดินได้
• ขณะเดียวกัน มีการประเมินระดับน้ำทะเลใน 20 ปีข้างหน้าพบว่า ระดับน้ำจะเพิ่มสูงขึ้นอีกไม่น้อยกว่า 30 เซนติเมตรเช่นกัน ซึ่งจะส่งผลให้เกิดปัญหาน้ำท่วม การเปลี่ยนแปลงของพายุโซนร้อน และหากแผ่นดินทรุดยังเกิดอย่างต่อเนื่อง บวกกับระดับน้ำทะเลทั่วโลกเพิ่มสูงขึ้นเนื่องจากอุณหภูมิโลกที่สูงขึ้น โดยไม่มีมาตรการอะไรมาแก้ปัญหาเลย สุดท้ายกรุงเทพฯและปริมณฑลหายไปเกือบครึ่งเมือง เนื่องจากขณะนี้ไม่มีพื้นที่รับน้ำเหลืออยู่แล้ว
• "การเปลี่ยนแปลงของกระแสลม และการลดลงของพื้นที่ป่าชายเลนส่งผลให้ ปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งเพิ่มความรุนแรงมากขึ้น โดยพื้นที่ชายฝั่งทะเลของไทยหายไปจำนวนมาก" รศ.ดร.ธนวัฒน์ กล่าวเสริม
• การลดลงของป่าชายเลนทั้งด้านอ่าวไทยและอันดามันมีสาเหตุ 2 ประการ คือการตัดไม้ป่าชายเลน เพื่อการผลิตถ่านไม้ และการปรับพื้นที่ป่าชายเลนเพื่อการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง ซึ่งการลดลงของพื้นที่ป่าชายเลนดังกล่าว เป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่ทำให้เกิดการกัดเซาะชายฝั่งทะเลเพิ่มมากขึ้น
• สถานการณ์กัดเซาะชายฝั่งเพิ่มความรุนแรงมากขึ้น โดยขณะนี้จังหวัดริมชายฝั่งทะเลทั้ง 23 จังหวัด ทั้งแถบฝั่งอ่าวไทย และฝั่งอันดามันประสบปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งอย่างรุนแรง คิดเป็นพื้นที่ประมาณ 599 กิโลเมตร หรือ 21% ของพื้นที่ชายฝั่ง 2,667 กิโลเมตร โดยเฉพาะอย่างยิ่งบริเวณปากแม่น้ำบางปะกงจนถึงปากแม่น้ำแม่คลองครอบคลุม 5 จังหวัดได้แก่ ฉะเชิงเทรา สมุทรปราการ กทม. สมุทรสาคร สมุทรสงคราม ซึ่งค่อนข้างอ่อนไหวและมีการกัดเซาะรุนแรงที่สุดของประเทศ เนื่องจากบางพื้นที่มีอัตราการกัดเซาะชายฝั่งมากกว่า 25 เมตรต่อปี
• สำหรับจังหวัดสมุทรสงครามจุดที่ประสบปัญหามากแถวบริเวณบ้านขุนสมุทรจีน ซึ่งในรอบ 38 ปีที่ขณะนี้พื้นที่หายไป 11,000 ไร่ และจากการทำแบบจำลองอีก 20 ปี จะหายไปอีก 37,000 ไร่ ซึ่งกระทบกับชาวบ้านโดยตรง
• พื้นที่ดังกล่าวจะใช้เป็นพื้นที่นำร่องในการแก้ปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งแบบเป็นระบบโดยได้รับงบฯ จากสำนักงาน กองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.)จะทดลองทำโมเดลโดยผสมผสานทั้งโครงสร้าง ปลูกป่าชายเลน และ การเติมตะกอนดินในระยะทาง 400 เมตรใช้ระยะเวลา 1-2 ปี
วันพฤหัสบดีที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553
วันพฤหัสบดีที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553
พื้นหลักฐานอ้างอิงของประเทศไทย
ในการกำหนดตำแหน่งบนพื้นผิวโลกให้มีความถูกต้องนั้นนอกจากวิธีที่ใช้ในการรังวัดจะต้องมีความถูกต้องสูงแล้ว สิ่งที่มีความสำคัญไม่น้อยไปกว่ากัน คือพื้นหลักฐานอ้างอิง (reference datum) ซึ่งใช้เป็นระบบอ้างอิงในการหาตำแหน่ง (reference system) และโครงข่ายทางยีออเดซี (geodetic network) ซึ่งประกอบด้วยหมุดหลักฐานที่รังวัดเชื่อมโยงกันเป็นโครงข่ายและมีค่าพิกัดบนระบบอ้างอิง โดยเสมือนว่าค่าพิกัดของหมุดหลักฐานในโครงข่ายมีความถูกต้องทางตำแหน่งบนพื้นโลก หากระบบอ้างอิงหรือโครงข่ายมีความคลาดเคลื่อน (error) ย่อมส่งผลให้การหาตำแหน่งพิกัดมีความคลาดเคลื่อน ดังนั้นประเทศต่างๆในโลก จึงพยายามเลือกระบบอ้างอิงที่มีความถูกต้องสูง และใช้เทคนิควิธีการรังวัดที่ให้ความถูกต้องสูงในการสร้างโครงข่ายให้ครอบคลุมประเทศ หากจะกล่าวถึงวิธีในการรังวัดหาตำแหน่งที่มีความถูกต้องสูง ในปัจจุบันเทคนิคการรังวัดด้วยดาวเทียม GPS (Global Positioning System) เป็นวิธีที่ใช้กันอย่างแพร่หลาย เพราะสามารถให้ความถูกต้องสูงถึง 1:1,000,000 และค่าพิกัดที่ได้จากการรังวัด อ้างอิงบนพื้นหลักฐาน WGS84 (World Geodetic System 1984) ซึ่งเป็นระบบอ้างอิงที่ได้รับการยอมรับจากนานาประเทศว่ามีความถูกต้องและมีความเป็นสากล แต่เนื่องจากแผ่นเปลือกโลกได้รับอิทธิพลจากแรงเคลื่อนไหวของธรณีแปรสัณฐาน(tectonic activity) ทำให้ตำแหน่งต่างๆบนผิวโลกมีการเปลี่ยนแปลง จึงมีนักวิทยาศาสตร์กลุ่มหนึ่งได้สร้างและกำหนดระบบอ้างอิงใหม่ ซึ่งมีคุณลักษณะทางกายภาพเช่นเดียวกับพื้นหลักฐาน WGS84 ระบบอ้างอิงดังกล่าวคือ ITRF (International Terrestrial Reference Frame) ปัจจุบันหลายๆประเทศทั่วโลกได้เปลี่ยนมาใช้ระบบพิกัดอ้างอิง ITRF และขยายโครงข่ายให้ครอบคลุมประเทศด้วยเทคนิคการรังวัด GPS ดังเช่น ประเทศญี่ปุ่น จีน ออสเตรเลีย และประเทศในแถบภาคพื้นทวีปยุโรป เป็นต้น
กรมแผนที่ทหาร โดยกองยีออเดซีและยีออฟิสิกส์ เป็นหน่วยงานที่รับผิดชอบในการสร้างโครงข่ายทางยีออเดซี่ของประเทศไทย ได้เริ่มงานรังวัดโครงข่ายด้วยดาวเทียม GPS ตั้งแต่ปี พ.ศ.2534 (ค.ศ.1991) และได้พัฒนาโครงข่ายอย่างต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน และยังได้ร่วมในโครงการทางด้านยีออเดซี่ ด้วยการรังวัด GPS ในระดับนานาชาติหลายโครงการ ดังเช่น โครงการตรวจสอบการเคลื่อนคัวของเปลือกโลก และโครงการ THAICA กับหน่วยงาน IfAG ( Institut fur Angewandte Geodasie) ประเทศเยอรมัน , โครงการหาค่าพิกัดบนพื้นหลักฐาน WGS84 ด้วยวิธีการรังวัดแบบสัมบูรณ์ร่วมกับหน่วยงาน NIMA (National Imagery Mapping Agency) , โครงการจัดทำหลักเขตแดนระหว่างประเทศ กับประเทศเพื่อนบ้าน, โครงการสถานีติดตามดาวเทียม GPS ถาวรในประเทศไทย เพื่อใช้เป็นข้อมูลการปรับแก้วงโคจรของดาวเทียม GPS และตรวจสอบการเคลื่อนตัวของเปลือกโลกในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ซึ่งกำลังอยู่ในระหว่างดำเนินการร่วมกับสถาบัน DEOS ประเทศเนเธอร์แลนด์ เป็นต้น ผลจากการเข้าร่วมโครงการต่างๆ เหล่านี้ ทำให้โครงข่าย GPS ของประเทศไทย มีข้อมูลการรังวัด และสถานีควบคุมที่มีความน่าเชื่อถือและถูกต้องสูง อย่างเพียงพอ และในระหว่างนี้ กรมแผนที่ทหาร ได้จัดทำแผนที่มูลฐานมาตราส่วน 1:50000 ชุด L7018 ที่ระบบพิกัดของแผนที่ในชุดนี้ อ้างอิงบนพื้นหลักฐาน WGS84 ดังนั้น กดฟ.ผท.ทหาร จึงได้ดำเนินการปรับแก้โครงข่ายทั่วประเทศ โดยใช้ข้อมูลที่มีอยู่ในปัจจุบัน ให้เกิดประโยชน์ต่อโครงข่ายมากที่สุด เพื่อให้โครงข่ายมีความถูกต้อง, มีความน่าเชื่อถือสูง, มีความเป็นเอกภาพ, สามารถนำไปใช้เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาประเทศ, สามารถพัฒนานำไปใช้กับระบบต่างๆ ที่ต้องการความละเอียดถูกต้องทางตำแหน่งสูง, สามารถใช้เป็นโครงข่ายอ้างอิงของประเทศ และสามารถนำไปใช้ศึกษาวิเคราะห์งานทางด้านวิทยาศาสตร์หรืองานทางด้านยีออเดซี่ เพื่อให้มองเห็นภาพและลำดับของการพัฒนางานโครงข่ายยีออเดซี่ของประเทศไทยโดยกรมแผนที่ทหารตั้งแต่งานโครงข่ายสามเหลี่ยมในอดีตจนถึงโครงข่าย GPS ในปัจจุบัน จึงจะขอกล่าวในรายละเอียดตามลำดับดังต่อไปนี้
พื้นหลักฐานราชบุรี
โครงข่ายทางยีออเดซีของประเทศไทยได้พัฒนาอย่างต่อเนื่องมาตลอดตั้งแต่ในอดีต นับตั้งแต่ประเทศอินเดียได้กำหนดจุดศูนย์กำเนิดของรูปทรงรีเอเวอร์เรสท์ 1830 ที่ภูเขากะเลียนเปอร์ รังวัดขยายโครงข่ายสามเหลี่ยมชั้นที่หนึ่งออกไปทั่วภูมิภาค ผ่านประเทศพม่าจนถึงเขตแดนไทยที่ เขาหลวง จ.ราชบุรี และปรับแก้แล้วเสร็จเมื่อปี พ.ศ.2442 ต่อมาในปี พ.ศ.2450 กรมแผนที่ไทยในสมัยนั้น ได้รังวัดโครงข่ายงานสามเหลี่ยมชั้นที่หนึ่ง เชื่อมโยงกับหมุดหลักฐานที่เขาหลวง และทำการรังวัดเส้นฐานราชบุรี พร้อมกับการรังวัดอะซิมุทดาราศาสตร์ จากเขาแง้มไปเขางู เพื่อใช้เป็นสถานีแรกออกในการรังวัดขยายโครงข่ายออกไปทั่วประเทศ ประเทศไทยมีโครงข่ายควบคุมทางราบเป็นโครงข่ายแรกอ้างอิงกับพื้นหลักฐานราชบุรี โดยมีค่าพิกัดแรกออกที่ เขาหลวง จ.ราชบุรี ดังนี้
ละติจูด 13o 43’ 30”.34 เหนือ
ลองจิจูด 99 o 32’ 22”.94 ตะวันออก
อะซิมุทจากใต้ เขาแง้ม – เขางู 179 o 44’ 34”.308
รูปทรงรี เอเวอร์เรสท์ 1830
(a = 6377276.345 เมตร , f = 1/300.8017)
โครงขายหมุดหลักฐานทางราบแห่งประเทศไทย
กรมแผนที่ทหาร โดยกองยีออเดซีและยีออฟิสิกส์ เป็นหน่วยงานที่รับผิดชอบในการสร้างโครงข่ายทางยีออเดซี่ของประเทศไทย ได้เริ่มงานรังวัดโครงข่ายด้วยดาวเทียม GPS ตั้งแต่ปี พ.ศ.2534 (ค.ศ.1991) และได้พัฒนาโครงข่ายอย่างต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน และยังได้ร่วมในโครงการทางด้านยีออเดซี่ ด้วยการรังวัด GPS ในระดับนานาชาติหลายโครงการ ดังเช่น โครงการตรวจสอบการเคลื่อนคัวของเปลือกโลก และโครงการ THAICA กับหน่วยงาน IfAG ( Institut fur Angewandte Geodasie) ประเทศเยอรมัน , โครงการหาค่าพิกัดบนพื้นหลักฐาน WGS84 ด้วยวิธีการรังวัดแบบสัมบูรณ์ร่วมกับหน่วยงาน NIMA (National Imagery Mapping Agency) , โครงการจัดทำหลักเขตแดนระหว่างประเทศ กับประเทศเพื่อนบ้าน, โครงการสถานีติดตามดาวเทียม GPS ถาวรในประเทศไทย เพื่อใช้เป็นข้อมูลการปรับแก้วงโคจรของดาวเทียม GPS และตรวจสอบการเคลื่อนตัวของเปลือกโลกในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ซึ่งกำลังอยู่ในระหว่างดำเนินการร่วมกับสถาบัน DEOS ประเทศเนเธอร์แลนด์ เป็นต้น ผลจากการเข้าร่วมโครงการต่างๆ เหล่านี้ ทำให้โครงข่าย GPS ของประเทศไทย มีข้อมูลการรังวัด และสถานีควบคุมที่มีความน่าเชื่อถือและถูกต้องสูง อย่างเพียงพอ และในระหว่างนี้ กรมแผนที่ทหาร ได้จัดทำแผนที่มูลฐานมาตราส่วน 1:50000 ชุด L7018 ที่ระบบพิกัดของแผนที่ในชุดนี้ อ้างอิงบนพื้นหลักฐาน WGS84 ดังนั้น กดฟ.ผท.ทหาร จึงได้ดำเนินการปรับแก้โครงข่ายทั่วประเทศ โดยใช้ข้อมูลที่มีอยู่ในปัจจุบัน ให้เกิดประโยชน์ต่อโครงข่ายมากที่สุด เพื่อให้โครงข่ายมีความถูกต้อง, มีความน่าเชื่อถือสูง, มีความเป็นเอกภาพ, สามารถนำไปใช้เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาประเทศ, สามารถพัฒนานำไปใช้กับระบบต่างๆ ที่ต้องการความละเอียดถูกต้องทางตำแหน่งสูง, สามารถใช้เป็นโครงข่ายอ้างอิงของประเทศ และสามารถนำไปใช้ศึกษาวิเคราะห์งานทางด้านวิทยาศาสตร์หรืองานทางด้านยีออเดซี่ เพื่อให้มองเห็นภาพและลำดับของการพัฒนางานโครงข่ายยีออเดซี่ของประเทศไทยโดยกรมแผนที่ทหารตั้งแต่งานโครงข่ายสามเหลี่ยมในอดีตจนถึงโครงข่าย GPS ในปัจจุบัน จึงจะขอกล่าวในรายละเอียดตามลำดับดังต่อไปนี้
พื้นหลักฐานราชบุรี
โครงข่ายทางยีออเดซีของประเทศไทยได้พัฒนาอย่างต่อเนื่องมาตลอดตั้งแต่ในอดีต นับตั้งแต่ประเทศอินเดียได้กำหนดจุดศูนย์กำเนิดของรูปทรงรีเอเวอร์เรสท์ 1830 ที่ภูเขากะเลียนเปอร์ รังวัดขยายโครงข่ายสามเหลี่ยมชั้นที่หนึ่งออกไปทั่วภูมิภาค ผ่านประเทศพม่าจนถึงเขตแดนไทยที่ เขาหลวง จ.ราชบุรี และปรับแก้แล้วเสร็จเมื่อปี พ.ศ.2442 ต่อมาในปี พ.ศ.2450 กรมแผนที่ไทยในสมัยนั้น ได้รังวัดโครงข่ายงานสามเหลี่ยมชั้นที่หนึ่ง เชื่อมโยงกับหมุดหลักฐานที่เขาหลวง และทำการรังวัดเส้นฐานราชบุรี พร้อมกับการรังวัดอะซิมุทดาราศาสตร์ จากเขาแง้มไปเขางู เพื่อใช้เป็นสถานีแรกออกในการรังวัดขยายโครงข่ายออกไปทั่วประเทศ ประเทศไทยมีโครงข่ายควบคุมทางราบเป็นโครงข่ายแรกอ้างอิงกับพื้นหลักฐานราชบุรี โดยมีค่าพิกัดแรกออกที่ เขาหลวง จ.ราชบุรี ดังนี้
ละติจูด 13o 43’ 30”.34 เหนือ
ลองจิจูด 99 o 32’ 22”.94 ตะวันออก
อะซิมุทจากใต้ เขาแง้ม – เขางู 179 o 44’ 34”.308
รูปทรงรี เอเวอร์เรสท์ 1830
(a = 6377276.345 เมตร , f = 1/300.8017)
โครงขายหมุดหลักฐานทางราบแห่งประเทศไทย
วันจันทร์ที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553
ประเทศลาว
ลักษณะภูมิประเทศ
ประเทศลาวเป็นประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งตั้งอยู่บนใจกลางของคาบสมุทรอินโดจีน ระหว่างละติจูดที่ 14 - 23 องศาเหนือ ลองติจูดที่ 100 - 108 องศาตะวันออก มีพื้นที่โดยรวมประมาณ 236,800 ตารางกิโลเมตร แบ่งเป็นภาคพื้นดิน 230,800 ตารางกิโลเมตร ภาคพื้นน้ำ 6,000 km² โดยลาวเป็นประเทศที่ไม่มีทางออกสู่ทะเล เนื่องด้วยตลอดแนวชายแดนของประเทศลาว ซึ่งมีความยาวรวม 5,083 กิโลเมตร ล้อมรอบด้วยชายแดนของประเทศเพื่อนบ้าน 5 ประเทศ ดังนี้
• ประเทศจีนทางด้านทิศเหนือ (1 กิโลเมตร)
• ประเทศไทยทางด้านทิศใต้และทิศตะวันตก (1,754 กิโลเมตร)
• ประเทศกัมพูชาทางด้านทิศใต้ (541 กิโลเมตร)
• ประเทศเวียดนามทางด้านทิศตะวันออก (2,130 กิโลเมตร)
• ประเทศพม่าทางด้านทิศตะวันตก (235 กิโลเมตร)
ภูมิประเทศของลาวอาจแบบได้เป็น 3 เขต คือ
1. เขตภูเขาสูง เป็นพื้นที่ที่สูงกว่าระดับน้ำทะเลโดยเฉลี่ย 1,500 เมตรขึ้นไป พื้นที่นี้อยู่ในเขตภาคเหนือของประเทศ
2. เขตที่ราบสูง คือพื้นที่ซึ่งสูงกว่าระดับน้ำทะเลเฉลี่ย 1,000 เมตร ปรากฏตั้งแต่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของที่ราบสูงเมืองพวนไปจนถึงชายแดนกัมพูชา เขตที่ราบสูงนี้มีที่ราบสูงขนาดใหญ่อยู่ 3 แห่ง ได้แก่ ที่ราบสูงเมืองพวน (แขวงเชียงขวาง), ที่ราบสูงนากาย (แขวงคำม่วน) และที่ราบสูงบริเวณ (ภาคใต้)
3. เขตที่ราบลุ่ม เป็นเขตที่ราบตามแนวฝั่งแม่น้ำโขงและแม่น้ำต่างๆ เป็นพื้นที่ที่มีความอุดมสมบูรณ์มากที่สุดในเขตพื้นที่ทั้ง 3 เขต นับเป็นพื้นที่อู่ข้าวอู่น้ำที่สำคัญของประเทศ แนวที่ราบลุ่มเหล่านี้เริ่มปรากฏตั้งแต่บริเวณตอนใต้ของแม่น้ำงึม เรียกว่า ที่ราบลุ่มเวียงจันทน์ ผ่านที่ราบลุ่มสะหวันนะเขด ซึ่งอยู่ตอนใต้เซบั้งไฟและเซบั้งเหียง และที่ราบจำปาสักทางภาคใต้ของลาว ซึ่งปรากฏตามแนวแม่น้ำโขงเรื่อยไปจนจดชายแดนประเทศกัมพูชา
ทั้งนี้ เมื่อนำเอาพื้นที่ของเขตภูเขาสูงและเขตที่ราบสูงมารวมกันแล้ว จะมากถึง 3 ใน 4 ของพื้นที่ประเทศลาวทั้งหมด โดยจุดที่สูงที่สุดของประเทศลาวอยู่ที่ภูเบี้ย ในแขวงเชียงขวาง วัดความสูงได้ 2,817 เมตร (9,242 ฟุต)
ประเทศลาวมีแม่น้ำสายสำคัญอยู่หลายสาย โดยแม่น้ำซึ่งเป็นสายหัวใจหลักของประเทศคือแม่น้ำโขง ซึ่งไหลผ่านประเทศลาวเป็นระยะทาง 1,835 กิโลเมตร แม่น้ำสายนี้เป็นแม่น้ำสำคัญทั้งในด้านเกษตรกรรม การประมง การผลิตพลังงานไฟฟ้า การคมนาคมจากลาวเหนือไปจนถึงลาวใต้ และการใช้เป็นพรมแดนธรรมชาติระหว่างประเทศลาวกับประเทศเพื่อนบ้าน นอกจากนี้ แม่น้ำสายสำคัญของลาวแห่งอื่นๆ ยังได้แก่ แม่น้ำอู , แม่น้ำงึม , แม่น้ำเซบั้งเหียง , แม่น้ำทา แม่น้ำเซกอง , แม่น้ำเซบั้งไฟ , แม่น้ำแบ่ง , แม่น้ำเซโดน , แม่น้ำเซละนอง , แม่น้ำกะดิ่ง ,แม่น้ำคาน
ลักษณะภูมิอากาศ
สปป. ลาวอยู่ในภูมิอากาศเขตร้อน มีลมมรสุมแต่ไม่มีลมพายุ สำหรับเขตภูเขาภาคเหนือ และ เขตเทือกเขา อากาศมีลักษณะกึ่งร้อนกึ่งหนาว อุณหภูมิสะสมเฉลี่ยประจำปีสูงถึง 15-30 องศาเซลเซียส และความแตกต่างของอุณหภูมิระหว่างกลางวันและกลางคืนมีประมาณ 10 องศาเซลเซียส จำนวนชั่วโมงที่มีแสงแดดต่อปีประมาณ 2,300 - 2,400 ชั่วโมง (ประมาณ 6.3 - 6.5 ชั่วโมงต่อวัน) ความชื้นสัมพัทธ์ของอากาศมีประมาณร้อยละ 70 - 85 ปริมาณน้ำฝนในฤดูฝน (ตั้งแต่เดือนพฤษภาคม ถึงตุลาคม) มีร้อยละ 75 - 90 ส่วนในฤดูแล้ง (ตั้งแต่เดือนพฤษจิกายน ถึงเมษายน) ปริมาณน้ำฝนมีเพียงร้อยละ 10 - 25 และปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยต่อปีของแต่เขตก็แตกต่างกันอย่างมากมาย เช่น เขตเทือกเขาบริเวณทางใต้ได้รับน้ำฝนเฉลี่ยปีละ 300 เซนติเมตร ขณะที่บริเวณแขวงเซียงขวางแขวงหลวงพะบาง แขวงไซยะบุลี ได้รับเพียงแค่ 100 - 150 เซนติเมตร ส่วนแขวงเวียงจันและสะหวันนะเขดในช่วง 150 - 200 เซนติเมตร เช่นเดียวกับแขวงพงสาลี แขวงหลวงน้ำทา และแขวงบ่อแก้ว
วันอาทิตย์ที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2553
เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูวัว อำเภอบุ่งคล้า จ.หนองคาย
มีเนื้อที่ประมาณ 186 ตารางกิโลเมตร หรือ 116,562 ไร่ ครอบคลุมพื้นที่ในเขตอำเภอบึงกาฬ อำเภอบุ่งคล้า อำเภอเซกา และอำเภอบึงโขงหลง เกือบติดพรมแดนประเทศลาว มีความสูงจากระดับน้ำทะเลเฉลี่ยประมาณ 150-300 เมตร สภาพป่าส่วนใหญ่เป็นป่าเต็งรัง ป่าดิบแล้ง และป่าดิบชื้น บางส่วนเป็นสันเขาหินทราย ลานหินและทุ่งหญ้า ที่ทำการเขตฯ ตั้งอยู่ที่บ้านดอนจิก ซึ่งอยู่เลยอำเภอบุ่งคล้ามา 3 กิโลเมตรมีทางแยกขวาไปอีก 6 กิโลเมตร
แหล่งท่องเที่ยวที่น่าสนใจในเขตอุทยานฯ ได้แก่
น้ำตกถ้ำฝุ่น อยู่ในบริเวณท้องที่บ้านภูสวาท ตำบลหนองเดิ่น บนเส้นทางหมายเลข 212 ก่อนถึงอำเภอบุ่งคล้า 7 กิโลเมตรมีทางแยกขวาไปน้ำตกประมาณ 4 กิโลเมตร อยู่ในบริเวณป่าโปร่งที่มีทิวทัศน์สวยงามทางตอนเหนือของภูวัว ทางเดินไปน้ำตกผ่านลานหินทรายกว้างขวาง จนมาสุดทางที่น้ำตกที่ไหลมาจากหน้าผาหินทรายที่มีลักษณะเป็นร่องแคบ มองเห็นสายน้ำตกมาเป็นทางยาว มีน้ำเฉพาะในฤดูฝน บริเวณใกล้เคียงมีเพิงผาหินเป็นแนวยาวเรียกว่า ถ้ำฝุ่น
น้ำตกเจ็ดสี ตั้งอยู่ในเขตพื้นที่บ้านดอนเสียด ตำบลบ้านต้อง อำเภอเซกา หากเดินทางมาตามทางหมายเลข 212 ก่อนถึงบุ่งคล้า 12 กิโลเมตรมีทางแยกขวาที่บ้านชัยพร ผ่านบ้านภูเงิน บ้านดอนเสียดไปถึงน้ำตกเป็นระยะทางอีก 28 กิโลเมตร หรือหากเดินทางจากภูทอกใช้เส้นทางที่ผ่านบ้านนาต้อง บ้านดอนเสียด รวมระยะทางจากภูทอก 14 กิโลเมตร น้ำตกเจ็ดสี เป็นน้ำตกที่สวยงามมากโดยเฉพาะในช่วงฤดูฝน เกิดจากธารน้ำของห้วยกะอามไหลมาตามหน้าผาหินทรายสูงและแผ่กว้างเป็นทางยาว สายน้ำตกกระทบหินเบื้องล่างเกิดเป็นละอองไอน้ำยามเมื่อกระทบกับแสงแดดทำให้เกิดสีต่างๆ ขึ้น จึงเรียกว่า น้ำตกเจ็ดสี
น้ำตกภูถ้ำพระ ตั้งอยู่บริเวณบ้านถ้ำพระ ตำบลโสกก่าม อำเภอเซกา อยู่ห่างจากอำเภอเซกาประมาณ 34 กิโลเมตร มีน้ำเฉพาะในฤดูฝนเช่นเดียวกับน้ำตกอื่น ๆ ของภูวัว แต่การเดินทางเข้าถึงค่อนข้างลำบาก เดินทางจากอำเภอบุ่งคล้าไปตามทางหมายเลข 212 ระยะทาง 24 กิโลมตรถึงบ้านท่าดอกคำ มีทางดินแยกขวาไปจนถึงห้วยบางบาตรและต่อเรือชาวบ้านไปยังน้ำตก บริเวณน้ำตกจะเป็นที่ตั้งสำนักสงฆ์ เงียบสงบและร่มรื่น เมื่อเดินขึ้นมาบนลานหินด้านหลัง จะพบหุบเขารูปแอ่งกระทะขนาดกว้างประมาณ 200 ตารางเมตร มีสายธารน้ำตกไหลมายังก้นอ่างที่เบื้องล่าง บริเวณน้ำตกเป็นผากว้างราว 100 เมตร สูง 50 เมตร สามารถลงเล่นน้ำได้
น้ำตกชะแนน เดิมชื่อน้ำตกตาดสะแนน ตาดแปลว่า "ที่ซึ่งมีน้ำไหล" สะแนนมีความหมายว่า "สูงสุดยอด" หรือ "เยี่ยมยอด" ตั้งอยู่ที่บ้านภูเงิน ในเขตอำเภอเซกา ใช้เส้นทางเดียวกับทางไปน้ำตกเจ็ดสี โดยใช้เส้นทางบ้านชัยพร-บ้านภูเงิน ระยะทาง 13 กิโลเมตร จะมีทางแยกไปน้ำตกชะแนนอีก 5 กิโลเมตร ทางช่วงสุดท้ายเป็นทางดินแคบขรุขระและไม่สะดวก ต้องใช้มอเตอร์ไซค์เท่านั้น น้ำตกชะแนนเกิดจากลำห้วยสะแนนไหลลดหลั่น 2 ชั้น มีขนาดกว้างประมาณ 100 เมตร ระหว่างชั้นที่ 1 กับชั้นที่ 2 ห่างกัน 300 เมตร เป็นน้ำตกขนาดใหญ่ที่มีความสวยงาม มีน้ำเฉพาะฤดูฝน ระหว่างทางจะผ่านขัวหิน (สะพานหิน) ซึ่งเป็นปรากฏการณ์ธรรมชาติที่น้ำลอดหายไปใต้สะพานหินที่มีความยาวประมาณ 100 เมตร การเดินทางไปชั้นที่สองของน้ำตกชะแนน จะผ่านแนวลำธารที่พื้นเต็มไปด้วยโขดหิน เดินตามลำธารไปทางชายฝั่งด้านซ้ายมือ ทะลุออกที่ลานกว้างริมแอ่งน้ำใหญ่ เหนือแอ่งน้ำขึ้นไปก็เป็นน้ำตกชั้นเตี้ยๆ ตกลงมาสู่แอ่ง เรียกกันว่า น้ำตกบึงจระเข้
มีเนื้อที่ประมาณ 186 ตารางกิโลเมตร หรือ 116,562 ไร่ ครอบคลุมพื้นที่ในเขตอำเภอบึงกาฬ อำเภอบุ่งคล้า อำเภอเซกา และอำเภอบึงโขงหลง เกือบติดพรมแดนประเทศลาว มีความสูงจากระดับน้ำทะเลเฉลี่ยประมาณ 150-300 เมตร สภาพป่าส่วนใหญ่เป็นป่าเต็งรัง ป่าดิบแล้ง และป่าดิบชื้น บางส่วนเป็นสันเขาหินทราย ลานหินและทุ่งหญ้า ที่ทำการเขตฯ ตั้งอยู่ที่บ้านดอนจิก ซึ่งอยู่เลยอำเภอบุ่งคล้ามา 3 กิโลเมตรมีทางแยกขวาไปอีก 6 กิโลเมตร
แหล่งท่องเที่ยวที่น่าสนใจในเขตอุทยานฯ ได้แก่
น้ำตกถ้ำฝุ่น อยู่ในบริเวณท้องที่บ้านภูสวาท ตำบลหนองเดิ่น บนเส้นทางหมายเลข 212 ก่อนถึงอำเภอบุ่งคล้า 7 กิโลเมตรมีทางแยกขวาไปน้ำตกประมาณ 4 กิโลเมตร อยู่ในบริเวณป่าโปร่งที่มีทิวทัศน์สวยงามทางตอนเหนือของภูวัว ทางเดินไปน้ำตกผ่านลานหินทรายกว้างขวาง จนมาสุดทางที่น้ำตกที่ไหลมาจากหน้าผาหินทรายที่มีลักษณะเป็นร่องแคบ มองเห็นสายน้ำตกมาเป็นทางยาว มีน้ำเฉพาะในฤดูฝน บริเวณใกล้เคียงมีเพิงผาหินเป็นแนวยาวเรียกว่า ถ้ำฝุ่น
น้ำตกเจ็ดสี ตั้งอยู่ในเขตพื้นที่บ้านดอนเสียด ตำบลบ้านต้อง อำเภอเซกา หากเดินทางมาตามทางหมายเลข 212 ก่อนถึงบุ่งคล้า 12 กิโลเมตรมีทางแยกขวาที่บ้านชัยพร ผ่านบ้านภูเงิน บ้านดอนเสียดไปถึงน้ำตกเป็นระยะทางอีก 28 กิโลเมตร หรือหากเดินทางจากภูทอกใช้เส้นทางที่ผ่านบ้านนาต้อง บ้านดอนเสียด รวมระยะทางจากภูทอก 14 กิโลเมตร น้ำตกเจ็ดสี เป็นน้ำตกที่สวยงามมากโดยเฉพาะในช่วงฤดูฝน เกิดจากธารน้ำของห้วยกะอามไหลมาตามหน้าผาหินทรายสูงและแผ่กว้างเป็นทางยาว สายน้ำตกกระทบหินเบื้องล่างเกิดเป็นละอองไอน้ำยามเมื่อกระทบกับแสงแดดทำให้เกิดสีต่างๆ ขึ้น จึงเรียกว่า น้ำตกเจ็ดสี
น้ำตกภูถ้ำพระ ตั้งอยู่บริเวณบ้านถ้ำพระ ตำบลโสกก่าม อำเภอเซกา อยู่ห่างจากอำเภอเซกาประมาณ 34 กิโลเมตร มีน้ำเฉพาะในฤดูฝนเช่นเดียวกับน้ำตกอื่น ๆ ของภูวัว แต่การเดินทางเข้าถึงค่อนข้างลำบาก เดินทางจากอำเภอบุ่งคล้าไปตามทางหมายเลข 212 ระยะทาง 24 กิโลมตรถึงบ้านท่าดอกคำ มีทางดินแยกขวาไปจนถึงห้วยบางบาตรและต่อเรือชาวบ้านไปยังน้ำตก บริเวณน้ำตกจะเป็นที่ตั้งสำนักสงฆ์ เงียบสงบและร่มรื่น เมื่อเดินขึ้นมาบนลานหินด้านหลัง จะพบหุบเขารูปแอ่งกระทะขนาดกว้างประมาณ 200 ตารางเมตร มีสายธารน้ำตกไหลมายังก้นอ่างที่เบื้องล่าง บริเวณน้ำตกเป็นผากว้างราว 100 เมตร สูง 50 เมตร สามารถลงเล่นน้ำได้
น้ำตกชะแนน เดิมชื่อน้ำตกตาดสะแนน ตาดแปลว่า "ที่ซึ่งมีน้ำไหล" สะแนนมีความหมายว่า "สูงสุดยอด" หรือ "เยี่ยมยอด" ตั้งอยู่ที่บ้านภูเงิน ในเขตอำเภอเซกา ใช้เส้นทางเดียวกับทางไปน้ำตกเจ็ดสี โดยใช้เส้นทางบ้านชัยพร-บ้านภูเงิน ระยะทาง 13 กิโลเมตร จะมีทางแยกไปน้ำตกชะแนนอีก 5 กิโลเมตร ทางช่วงสุดท้ายเป็นทางดินแคบขรุขระและไม่สะดวก ต้องใช้มอเตอร์ไซค์เท่านั้น น้ำตกชะแนนเกิดจากลำห้วยสะแนนไหลลดหลั่น 2 ชั้น มีขนาดกว้างประมาณ 100 เมตร ระหว่างชั้นที่ 1 กับชั้นที่ 2 ห่างกัน 300 เมตร เป็นน้ำตกขนาดใหญ่ที่มีความสวยงาม มีน้ำเฉพาะฤดูฝน ระหว่างทางจะผ่านขัวหิน (สะพานหิน) ซึ่งเป็นปรากฏการณ์ธรรมชาติที่น้ำลอดหายไปใต้สะพานหินที่มีความยาวประมาณ 100 เมตร การเดินทางไปชั้นที่สองของน้ำตกชะแนน จะผ่านแนวลำธารที่พื้นเต็มไปด้วยโขดหิน เดินตามลำธารไปทางชายฝั่งด้านซ้ายมือ ทะลุออกที่ลานกว้างริมแอ่งน้ำใหญ่ เหนือแอ่งน้ำขึ้นไปก็เป็นน้ำตกชั้นเตี้ยๆ ตกลงมาสู่แอ่ง เรียกกันว่า น้ำตกบึงจระเข้
จังหวัดหนองคาย
หนองคาย เมืองชายแดนริมฝั่งแม่น้ำโขง เป็นประตูสู่เมืองเวียงจันทน์ เมืองหลวงของสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (สปป. ลาว) โดยมีสะพานมิตรภาพไทย-ลาวเชื่อมระหว่างสองประเทศจังหวัดหนองคายอยู่ห่างจากกรุงเทพฯ 615 กิโลเมตร มีเนื้อที่ประมาณ 7,332 ตารางกิโลเมตร เป็นจังหวัดที่มีพื้นที่ติดแม่น้ำโขงมากที่สุดเป็นระยะทาง 320 กิโลเมตร เหมาะแก่การทำเกษตรกรรมและประมงน้ำจืด ทั้งยังเป็นเมืองท่องเที่ยวที่สำคัญ สามารถเดินทางข้ามไปเที่ยวยังฝั่งลาวได้โดยสะดวก มีวัดวาอารามและวัฒนธรรมวิถีชีวิตชาวบ้านที่น่าสนใจ โรงแรมที่พักที่สะดวกสบาย หลากหลายไปด้วยอาหารและสินค้าของฝาก ล้วนเป็นเสน่ห์ดึงดูดให้ผู้คนเดินทางมาเยือนเมืองริมโขงแห่งนี้
ภูมิอากาศ
เนื่องจากจังหวัดหนองคาย มีภูมิประเทศ ติดกับแม่น้ำโขง ทำให้มีฝนตกชุกในฤดูฝน ระหว่างเดือนพฤษภาคม ถึง ตุลาคม ในฤดูหนาว ราวเดือนพฤศจิกายน ถึงกุมภาพันธ์จะมีอากาศหนาวเย็น เนื่องจากพื้นที่ส่วนใหญ่ เป็นที่สูง อุณหภูมิต่ำสุดประมาณ 11 องศาเซลเซียส ส่วนในฤดูร้อน ตั้งแต่เดือนมีนาคม ถึงเมษายน อากาศจะร้อนจัด อุณหภูมิสูงสุดประมาณ 35 องศาเซลเซียส
หนองคาย เมืองน่าอยู่อันดับ 7 ของโลก
นิตยสาร Modern Maturity ของสหรัฐอเมริกา จัดให้หนองคายเป็นเมืองน่าอยู่ลำดับที่ 7 ของโลก สำหรับคนวัยเกษียณชาวอเมริกัน จากการสำรวจ 40 เมืองทั่วโลก โดยอาศัยตัวชี้วัด 12 ตัว คือ ภูมิอากาศ ค่าครองชีพ วัฒนธรรม ที่อยู่อาศัย สาธารณูปโภค การคมนาคม บริการทางการแพทย์ สภาพแวดล้อม กิจกรรมนันทนาการ ความปลอดภัย ความมั่นคงทางการเมือง และการเข้าถึงเทคโนโลยี
ประวัติเมืองหนองคาย
ประวัติศาสตร์ของเมืองหนองคายเริ่มต้นเมื่อกว่า 200 ปีเศษ พื้นที่บริเวณริมฝั่งโขงนี้เดิมเคยเป็นที่ตั้งของเมืองเล็ก ๆ 4 เมือง คือ เมืองพรานพร้าว เมืองเวียงคุก เมืองปะโค เมืองไผ่ (บ้านบึงค่าย) ปัจจุบันยังพบซากโบราณสถานอยู่ตามวัดต่าง ๆ ริมแม่น้ำโขงบนเส้นทางท่าบ่อ-ศรีเชียงใหม่
ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ เจ้าอนุวงศ์ กษัตริย์ผู้ครองนครเวียงจันทน์ได้ตั้งตนเป็นกบฎ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงโปรดเกล้าให้เจ้าพระยาราชเทวี ยกทัพไปตีเมืองเวียงจันทน์ โดยมีท้าวสุวอธรรมา (บุญมา) เจ้าเมืองยโสธร และพระยาเชียงสา เป็นกำลังสำคัญในการช่วยทำศึกจนได้รับชัยชนะ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงโปรดเกล้าฯให้ท้าวสุวอขึ้นเป็นเจ้าเมือง โดยจัดตั้งเมืองใหญ่ทางฝั่งขวาของแม่น้ำโขงคอยควบคุมพื้นที่และเลือกสร้างเมืองที่บ้านไผ่ แล้วตั้งชื่อเมืองว่า หนองคาย ตามชื่อหนองน้ำใหญ่ซึ่งอยู่ทางทิศตะวันตกของเมือง
อาณาเขต
ทิศเหนือ ติดกับแม่น้ำโขงอันเป็นเส้นกั้นพรมแดนระหว่าง ประเทศไทยกับสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ทิศใต้ ติดกับจังหวัดอุดรธานี, สกลนคร ทิศตะวันออก ติดกับจังหวัดนครพนม ทิศตะวันตก ติดกับจังหวัดเลย
สถานที่ท่องเที่ยว จังหวัดหนองคาย
อนุสาวรีย์ปราบฮ่อ อำเภอเมือง
วัดโพธิ์ชัย อำเภอเมือง
สะพานมิตรภาพไทย-ลาว อำเภอเมือง
พระธาตุบังพวน อำเภอเมือง
พระธาตุหนองคาย หรือ พระธาตุกลางน้ำ
พระธาตุโพนจิกเวียงงัว หรือพระธาตุบุ
เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูวัว อำเภอบุ่งคล้า จังหวัดหนองคาย
ภูมิอากาศ
เนื่องจากจังหวัดหนองคาย มีภูมิประเทศ ติดกับแม่น้ำโขง ทำให้มีฝนตกชุกในฤดูฝน ระหว่างเดือนพฤษภาคม ถึง ตุลาคม ในฤดูหนาว ราวเดือนพฤศจิกายน ถึงกุมภาพันธ์จะมีอากาศหนาวเย็น เนื่องจากพื้นที่ส่วนใหญ่ เป็นที่สูง อุณหภูมิต่ำสุดประมาณ 11 องศาเซลเซียส ส่วนในฤดูร้อน ตั้งแต่เดือนมีนาคม ถึงเมษายน อากาศจะร้อนจัด อุณหภูมิสูงสุดประมาณ 35 องศาเซลเซียส
หนองคาย เมืองน่าอยู่อันดับ 7 ของโลก
นิตยสาร Modern Maturity ของสหรัฐอเมริกา จัดให้หนองคายเป็นเมืองน่าอยู่ลำดับที่ 7 ของโลก สำหรับคนวัยเกษียณชาวอเมริกัน จากการสำรวจ 40 เมืองทั่วโลก โดยอาศัยตัวชี้วัด 12 ตัว คือ ภูมิอากาศ ค่าครองชีพ วัฒนธรรม ที่อยู่อาศัย สาธารณูปโภค การคมนาคม บริการทางการแพทย์ สภาพแวดล้อม กิจกรรมนันทนาการ ความปลอดภัย ความมั่นคงทางการเมือง และการเข้าถึงเทคโนโลยี
ประวัติเมืองหนองคาย
ประวัติศาสตร์ของเมืองหนองคายเริ่มต้นเมื่อกว่า 200 ปีเศษ พื้นที่บริเวณริมฝั่งโขงนี้เดิมเคยเป็นที่ตั้งของเมืองเล็ก ๆ 4 เมือง คือ เมืองพรานพร้าว เมืองเวียงคุก เมืองปะโค เมืองไผ่ (บ้านบึงค่าย) ปัจจุบันยังพบซากโบราณสถานอยู่ตามวัดต่าง ๆ ริมแม่น้ำโขงบนเส้นทางท่าบ่อ-ศรีเชียงใหม่
ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ เจ้าอนุวงศ์ กษัตริย์ผู้ครองนครเวียงจันทน์ได้ตั้งตนเป็นกบฎ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงโปรดเกล้าให้เจ้าพระยาราชเทวี ยกทัพไปตีเมืองเวียงจันทน์ โดยมีท้าวสุวอธรรมา (บุญมา) เจ้าเมืองยโสธร และพระยาเชียงสา เป็นกำลังสำคัญในการช่วยทำศึกจนได้รับชัยชนะ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงโปรดเกล้าฯให้ท้าวสุวอขึ้นเป็นเจ้าเมือง โดยจัดตั้งเมืองใหญ่ทางฝั่งขวาของแม่น้ำโขงคอยควบคุมพื้นที่และเลือกสร้างเมืองที่บ้านไผ่ แล้วตั้งชื่อเมืองว่า หนองคาย ตามชื่อหนองน้ำใหญ่ซึ่งอยู่ทางทิศตะวันตกของเมือง
อาณาเขต
ทิศเหนือ ติดกับแม่น้ำโขงอันเป็นเส้นกั้นพรมแดนระหว่าง ประเทศไทยกับสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ทิศใต้ ติดกับจังหวัดอุดรธานี, สกลนคร ทิศตะวันออก ติดกับจังหวัดนครพนม ทิศตะวันตก ติดกับจังหวัดเลย
สถานที่ท่องเที่ยว จังหวัดหนองคาย
อนุสาวรีย์ปราบฮ่อ อำเภอเมือง
วัดโพธิ์ชัย อำเภอเมือง
สะพานมิตรภาพไทย-ลาว อำเภอเมือง
พระธาตุบังพวน อำเภอเมือง
พระธาตุหนองคาย หรือ พระธาตุกลางน้ำ
พระธาตุโพนจิกเวียงงัว หรือพระธาตุบุ
เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูวัว อำเภอบุ่งคล้า จังหวัดหนองคาย
ดวงจันทร์โคจรใกล้โลก 27 มกราคม พศ.2553
หวนกลับมาอีกแล้วแล้ว ทุกๆ 2 ปี 2 เดือน ดาวอังคารกับโลกจะมาอยู่ใกล้กันอีกครั้ง แต่ครั้งนี้ก็ยังไม่ใช่ครั้งที่ใกล้โลกที่สุด เพราะยังไม่มีครั้งไหนที่ดาวอังคารจะเข้ามาใกล้ๆได้เหมือนเมื่อครั้งที่โด่งดังในวันที่ 27 สิงหาคม 2546 ซึ่งจัดว่าใกล้ที่สุดในรอบหลายหมื่นปีทำให้ดาวอังคารใกล้โลกในปีนั้นได้รับความสนใจอย่างมากจากสถาบันการศึกษาและผู้สนใจเรื่องดาราศาสตร์ทุกคน กว่าจะให้เข้ามาใกล้เหมือนเมื่อปี พศ.2546 อีกต้องรอถึงปี พศ.2561 ตามตารางที่ให้ไว้ข้างล่าง
สำหรับดาวอังคารใกล้โลกในปีนี้ตรงกับวันที่ 27 มกราคม พศ.2553 ขึ้น 12 ค่ำ ดวงจันทร์อยู่แถวกลุ่มดาวคนคู่ ซึ่งอยู่ไม่ไกลแสงจันทร์อาจจะรบกวนท้องฟ้าบ้างพอสมควร แต่เราก็ยังสามารถเห็นดาวอังคารได้ง่าย โดยจะมองเห็นขึ้นขอบฟ้าด้านทิศตะวันออกตั้งแต่หัวค่ำ มีความสว่างช่วงนั้นอยู่ที่ แมกนิจูด -1.3 ขนาดกว้างเชิงมุม 14 arcsec อยู่ในกลุ่มดาวปู ขนาดค่อนข้างเล็กเมื่อเทียบกับปีก่อนๆที่ผ่านมา การสังเกตด้วยกล้องโทรทัศน์จึงต้องใช้กำลังขยายสูงพอสมควร และในวันที่ 29 มกราคม ดาวอังคารจึงจะมาอยู่ที่ตำแหน่ง Opposition หรือตำแหน่งตรงข้ามดวงอาทิตย์ ดังนั้นการเฝ้าสังเกตหรือจัดกิจกรรมดูดาวอังคารจึงไม่จำเป็นต้องใช้วันที่ 27 มกราคมวันเดียว เราสามารถดูก่อนหรือหลังวันนี้ได้ 2-3 วัน
ความรู้เกี่ยวกับดาวอังคารใกล้โลก
สาเหตุที่โลกและดาวอังคารไม่ได้อยู่ใกล้กันด้วยระยะห่างเหมือนเดิมทุกครั้ง ก็เพราะวงโคจรของทั้งโลกและดาวอังคารเป็นวงรี ซึ่งจะมีตำแหน่งหนึ่งที่โลกอยู่ใกล้ (Perihelion) และไกล(Aphelion) จากดวงอาทิตย์ที่สุด ดาวอังคารก็เช่นกัน เมื่อไหร่ก็ตามที่ตำแหน่งไกลสุดของโลกมาพบกับตำแหน่งที่ใกล้ดวงอาทิตย์ที่สุดของดาวอังคาร ก็จะกลายเป็นตำแหน่งที่โลกและดาวอังคารมาอยู่ใกล้กันที่สุด ตามตารางข้างล่าง ซึ่งจะเห็นว่า เดือนสิงหาคม พศ.2546 เป็นครั้งแรกที่อยู่ใกล้กันที่สุดในรอบหลายหมื่นปี และจะใกล้กันแบบนี้อีกก็ปี พศ.2593 ดาวอังคารมีคาบการโคจรรอบดวงอาทิตย์ (Sidereal Period) 687 วันบนโลกหรือประมาณ 1 ปี 10 เดือน ขณะที่โลกเองมีคาบการโคจรรอบดวงอาทิตย์ 365.25 วันหรือ 12 เดือน ทำให้โลกโคจรรอบดวงอาทิตย์เร็วกว่าดาวอังคาร เมื่อถึงวันที่โลกและดาวอังคารมาอยู่ใกล้กันครั้งหนึ่ง หลังจากนั้นโลกก็จะโคจรโดยเร็วทิ้งดาวอังคารไว้เบื้องหลังและทิ้งห่างไปทุกทีจนโลกกลับมาที่เดิมครบ 1ปี แต่ดาวอังคารจะอยู่ห่างแบบนำหน้า ช่วงนี้จะเป็นช่วงที่โลกจะโคจรเข้าไปไล่ให้ทันอีกครั้ง แต่ดาวอังคารเองก็โคจรหนี โลกจึงต้องใช้เวลาในการไล่ตามอีกปีกว่าๆจึงจะทัน ทำให้ทุกๆ 2 ปี 2 เดือนบนโลก จึงจะตามดาวอังคารทันครั้งหนึ่ง และทำให้ดาวอังคารอยู่ในตำแหน่งตรงข้ามกับดวงอาทิตย์ (Opposition) ครั้งหนึ่ง ตำแหน่ง Opposition ไม่จำเป็นต้องเป็นวันเดียวกับที่อยู่ใกล้โลก ซึ่งเกิดขึ้นจากวงโคจรที่เป็นวงรีนั่นเอง เรื่องแบบนี้มักจะเกิดขึ้นกับดาวอังคารบ่อยๆ เพราะเป็นดาวเคราะห์ดวงถัดไป แต่กับดาวเคราะห์ดวงถัดไปอย่างเช่น ดาวพฤหัสบดี ดาวเสาร์ ดาวยูเรนัส ดาวเนปจูน ตำแหน่งใกล้โลกมักจะตรงกับตำแหน่ง Opposition
เราดูอะไรจากการดูดาวอังคารใกล้โลก
เนื่องจากดาวอังคารเป็นดาวเคราะห์ที่มีชั้นบรรยากาศห่อหุ้มบางมากและเป็นก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ซึ่งเป็นก๊าซใสสามารถมองเห็นพื้นผิวได้จากโลกเหมือนดูหลุมบนดวงจันทร์ แต่เนื่องจากดาวอังคารอยู่ไกลกว่าดวงจันทร์เราจึงไม่สามารถเก็บรายละเอียดได้มากเหมือนดวงจันทร์ สิ่งที่เราสนใจบนพื้นผิวดาวอังคารก็คือขั้วน้ำแข็ง ซึ่งสามารถมองเห็นเป็นแถบสีขาวอยู่บริเวณขั้ว ได้จากกล้องบนพื้นโลกถ้ากล้องนั้นมีความสามารถในการเก็บรายละเอียดได้ดีพอ และช่วงนี้เป็นช่วงที่ดาวอังคารอยู่ห่างจากดวงอาทิตย์มาก ปริมาณน้ำแข็งก็อาจจะมากขึ้นด้วย พายุฝุ่นบนดาวอังคาร เราสามารถเห็นพายุฝุ่นที่ปกคลุมพื้นผิวดาวอังคารได้อย่างชัดเจนช่วงที่ดาวอังคารมีการเปลี่ยนแปลงฤดูกาล ซึ่งเราจะเห็นเป็นแถบสีคล้ำขยายตัวและลดลงอย่างน่าตื้นตาตื้นใจ
วันพฤหัสบดีที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2553
อุทยานแห่งชาติภูหินร่องกล้า
ลักษณะภูมิประเทศ
สภาพภูมิประเทศโดยทั่วไปเป็นเทือกเขาสลับซับซ้อน ประกอบด้วยยอดภูเขาที่สำคัญคือ ภูหมันขาว ภูแผงม้า ภูขี้เถ้า ภูลมโล ภูหินร่องกล้า โดยมีภูหมันขาวเป็นยอดเขาที่สูงที่สุด สูงประมาณ 1 ,820 เมตรจากระดับน้ำทะเล เทือกเขาเหล่านี้จะมีความสูงลดหลั่นลงไปจากด้านทิศตะวันออกไปทางทิศตะวันตก และ เป็นแหล่งกำเนิดของแม่น้ำลำธารหลายสาย เช่น ห้วยลำน้ำไซ ห้วยน้ำขมึน ห้วยออมสิงห์ ห้วยเหมือดโดน และห้วยหลวงใหญ่
ลักษณะภูมิอากาศ
ภูหินร่องกล้ามีสภาพภูมิอากาศคล้ายภูกระดึงและภูหลวงเนื่องจากมีความสูงไล่ เลี่ยกันอากาศจะหนาวเย็นเกือบตลอดปี โดยเฉพาะในฤดูหนาวอุณหภูมิจะต่ำมากประมาณ 0-4oC มีหมอกคลุมทั่วบริเวณ ส่วนฤดูร้อนอากาศจะเย็นสบายฝนตกชุกในฤดูฝน อุณหภูมิเฉลี่ยทั้งปี ประมาณ 18-25oC
พืชพรรณและสัตว์ป่า
อุทยานแห่งชาติภูหินร่องกล้า ปกคลุมไปด้วยป่าไม้ 3 ชนิด คือ ป่าเต็งรัง ป่าดิบเขา และป่าสนเขา
ป่าเต็งรัง เป็นป่าที่ขึ้นในพื้นที่ระดับต่ำบริเวณเชิงเขา พื้นที่เป็นดินที่ขาดความอุดมสมบูรณ์และค่อนข้างแห้งแล้ง พันธุ์ไม้ที่พบได้แก่ เต็ง รัง พยอม เหียง ตะคร้อ พลวง ฯลฯ
ป่าดิบเขา จะขึ้นในบริเวณเขาสูง ซึ่งมีปริมาณน้ำฝนค่อนข้างมาก อากาศชื้น เป็นป่ารกทึบ พันธุ์ไม้ที่พบเห็นทั่วไป ได้แก่ ก่อเดือย ก่อหัวหมู อบเชย ทะโล้ ฯลฯ ส่วนพืชพื้นล่าง ได้แก่ หวาย ปาล์มชนิดต่างๆ
ป่าสนเขา เป็นป่าบนที่ราบหลังภู มีสนสองใบและสนสามใบขึ้นปะปนกัน ส่วนใหญ่เป็นสนสองใบ บางแห่งอยู่รวมกันเป็นป่าสนกว้างใหญ่
นอกจากนี้ยังพบกล้วยไม้ป่าดอกไม้ป่าหลายชนิดขึ้นอยู่ตามลานหิน เช่น ม้าวิ่ง เอื้องตาหิน เอื้องคำหิน เอื้องสายสามสี ช้องนางคลี่ เหง้าน้ำทิพย์ กุหลาบขาว กุหลาบแดง ฟองหิน รวมทั้งมอส เฟิน ไลเคนล์ และตะไคร่ชนิดต่างๆ ซึ่งในช่วงปลายฤดูฝนต่อฤดูหนาวดอกไม้ป่าเหล่านี้จะออกดอกบานสะพรั่งมีสีสัน งดงาม
ในอดีตภูหินร่องกล้า เคยมีสัตว์ป่าหลายชนิด เช่น เสือ กวางป่า เก้ง กระจง นกชนิดต่าง ๆ ครั้นต่อมาเมื่อกลายเป็นแหล่งอาศัยของคนจำนวนมาก และยังเคยเป็นสมรภูมิแห่งการสู้รบมาก่อน สัตว์ป่าต่างๆ จึงถูกล่าเป็นอาหาร ในปัจจุบันเหตุการณ์ต่าง ๆ สงบลง จึงมีสัตว์ป่าขนาดใหญ่ เช่น เสือ เก้ง กระจง หมี และนกหลายชนิดเข้ามาอาศัยอยู่มากขึ้น
โรงเรียนการเมืองการทหาร
อยู่ห่างจากที่ทำการอุทยานแห่งชาติประมาณ 6 กิโลเมตร มีสภาพเป็นป่ารกทึบหนาแน่นไปด้วยต้นไม้ใหญ่ ในอดีตเคยเป็นสถานที่สำหรับให้การศึกษาตามแนวทางของลัทธิคอมมิวนิสต์ ในบริเวณโรงเรียนการเมืองการทหาร จะประกอบไปด้วยบ้านฝ่ายพลเรือน ฝ่ายพลาธิการ ฝ่ายสื่อสาร และสถานพยาบาล ส่วนเหล่านี้มีทั้งหมด 31 หลัง เป็นบ้านหลังเล็กๆ กระจายอยู่อย่างเป็นระเบียบ ภายในบ้านแต่ละหลังจะมีแคร่สำหรับนอน และโต๊ะสำหรับเขียนหนังสือทำด้วยไม้กระดานอย่างหยาบๆ เศษข้าวของกระจายอยู่เกลื่อน บางหลังเริ่มผุพังเพราะถูกปล่อยให้ร้างหลังจากมวลชนเข้ามอบตัวแล้ว นอกจากนี้บริเวณตอนกลางของโรงเรียนการเมืองการทหาร มีรถแทรกเตอร์จอดอยู่ 1 คัน ซึ่ง ผกค. ทำการยึดจากบริษัท พิฆเนตร แล้วเผาทิ้งไว้
สำนักอำนาจรัฐ
อยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของอุทยานแห่งชาติ ห่างจากที่ทำการอุทยานแห่งชาติประมาณ 3 กิโลเมตร เป็นสถานที่ดำเนินการปกครอง มีการพิจารณาและลงโทษผู้กระทำผิดหรือละเมิดต่อกฎลัทธิมีคุกสำหรับขังผู้ กระทำความผิด มีสถานที่ทอผ้าและโรงซ่อมเครื่องจักรกล
กังหันน้ำ
อยู่ตรงข้ามกับโรงเรียนการเมืองการทหาร ใช้หล่อเลี้ยงคนหลายพันคนบนภูหินร่องกล้า สร้างขึ้นโดยนักศึกษาโดยใช้พลังน้ำขับเคลื่อนกังหันเพื่อหมุนแกนครก กระเดื่องตำข้าวซึ่งเปรียบเสมือนโรงสีข้าวของ ผกค.
โรงพยาบาล
อยู่ห่างจากสำนักอำนาจรัฐ ประมาณ 2 กิโลเมตร เป็นโรงพยาบาลกลางป่าที่มีอุปกรณ์ในการรักษาคนป่วยเกือบครบถ้วน มีห้องปรุงยา ห้องพักฟื้น และยาชนิดต่าง ๆ เป็นอันมาก
ลานหินแตก
อยู่ ห่างจากฐานพัชรินทร์ ประมาณ 300 เมตร ลักษณะเป็นหินที่มีรอยแตกเป็นแนวเป็นร่องเหมือนแผ่นดินแยก รอยแตกนี้บางรอยก็มีขนาดแคบพอให้รากต้นหญ้าชอนไชไปได้เท่านั้น บางรอยกว้างพอคนก้าวข้ามได้ และบางรอยกว้างมากจนไม่สามารถกระโดดข้ามได้ ความลึกของร่องหินแตกเหล่านั้นไม่สามารถจะคะเนได้ ลักษณะเช่นนี้สันนิษฐานว่าอาจจะเกิดจากการโก่งตัวหรือเคลื่อนตัวของผิวโลก จึงทำให้พื้นหินนั้นแตกเป็นแนวนอกจากนี้บริเวณหินแตกยังปกคลุมไปด้วยมอส ไลเคนส์ ตะไคร่ เฟิน และกล้วยไม้ชนิดต่างๆ
ผาชูธง
อยู่ห่างจากลานหินปุ่มประมาณ 600 เมตร เป็นหน้าผาสูงชันสามารถเห็นทิวทัศน์ได้กว้างไกล โดยเฉพาะภาพทิวทัศน์ดวงอาทิตย์ตกดินจะสวยงามไม่แพ้จุดชมทิวทัศน์อื่นๆ บริเวณนี้เคยเป็นสถานที่ที่ ผกค.จะขึ้นไปชูธงแดง (ฆ้อนเคียว) ทุกครั้งที่รบชนะทหารของรัฐบาล
น้ำตกหมันแดง
เป็นน้ำตกขนาดใหญ่ มี 32 ชั้น ปัจจุบันยังไม่มีทางรถเข้าถึง การเดินทางเข้าไปท่องเที่ยวยังน้ำตกในขณะนี้ ทำได้โดยการเดินเท้าเท่านั้น
น้ำตกร่มเกล้า-ภราดร
เป็นน้ำตกฝาแฝด 2 แห่ง ที่อยู่ติด ๆ กัน อยู่ห่างจากที่ทำการอุทยานแห่งชาติ บนถนนภูหินร่องกล้าประมาณ 4 กิโลเมตร ก่อนถึงโรงเรียนการเมืองการทหารประมาณ 1 กิโลเมตร จากถนนสายใหญ่ จะต้องเดินตัดลงไปบนทางเท้าที่พึ่งทำขึ้นใหม่เป็นระยะทางประมาณ 800 เมตร ตัวน้ำตกไม่สูงใหญ่นัก แต่สภาพแวดล้อมโดยรอบมีลักษณะเป็นป่าบริสุทธิ์อันงดงามมาก
น้ำตกศรีพัชรินทร์
ตั้งอยู่ก่อนถึงที่ทำการอุทยานแห่งชาติบริเวณเชิงเขาประมาณ 4-5 กิโลเมตร ปัจจุบันยังไม่มีทางรถเข้าถึง
น้ำตกผาลาดและน้ำตกตาดฟ้า
ตั้งอยู่บริเวณเชิงภูหินร่องกล้าโดยแยกซ้ายจาก หมู่บ้านห้วยน้ำไซต่อไปประมาณ 2 กิโลเมตร จะถึงที่ทำการพลังงานไฟฟ้าห้วยขมึน อันเป็นที่ตั้งของน้ำตกแก่งลาด ขึ้นเขาต่อไปประมาณ 3-4 กิโลเมตร มีทางเดินแยกซ้ายลงไปน้ำตกตาดฟ้าหรือน้ำตกด่านกอซองเป็นน้ำตกชั้นเดียวขนาด ใหญ่ที่สวยงาม
สภาพภูมิประเทศโดยทั่วไปเป็นเทือกเขาสลับซับซ้อน ประกอบด้วยยอดภูเขาที่สำคัญคือ ภูหมันขาว ภูแผงม้า ภูขี้เถ้า ภูลมโล ภูหินร่องกล้า โดยมีภูหมันขาวเป็นยอดเขาที่สูงที่สุด สูงประมาณ 1 ,820 เมตรจากระดับน้ำทะเล เทือกเขาเหล่านี้จะมีความสูงลดหลั่นลงไปจากด้านทิศตะวันออกไปทางทิศตะวันตก และ เป็นแหล่งกำเนิดของแม่น้ำลำธารหลายสาย เช่น ห้วยลำน้ำไซ ห้วยน้ำขมึน ห้วยออมสิงห์ ห้วยเหมือดโดน และห้วยหลวงใหญ่
ลักษณะภูมิอากาศ
ภูหินร่องกล้ามีสภาพภูมิอากาศคล้ายภูกระดึงและภูหลวงเนื่องจากมีความสูงไล่ เลี่ยกันอากาศจะหนาวเย็นเกือบตลอดปี โดยเฉพาะในฤดูหนาวอุณหภูมิจะต่ำมากประมาณ 0-4oC มีหมอกคลุมทั่วบริเวณ ส่วนฤดูร้อนอากาศจะเย็นสบายฝนตกชุกในฤดูฝน อุณหภูมิเฉลี่ยทั้งปี ประมาณ 18-25oC
พืชพรรณและสัตว์ป่า
อุทยานแห่งชาติภูหินร่องกล้า ปกคลุมไปด้วยป่าไม้ 3 ชนิด คือ ป่าเต็งรัง ป่าดิบเขา และป่าสนเขา
ป่าเต็งรัง เป็นป่าที่ขึ้นในพื้นที่ระดับต่ำบริเวณเชิงเขา พื้นที่เป็นดินที่ขาดความอุดมสมบูรณ์และค่อนข้างแห้งแล้ง พันธุ์ไม้ที่พบได้แก่ เต็ง รัง พยอม เหียง ตะคร้อ พลวง ฯลฯ
ป่าดิบเขา จะขึ้นในบริเวณเขาสูง ซึ่งมีปริมาณน้ำฝนค่อนข้างมาก อากาศชื้น เป็นป่ารกทึบ พันธุ์ไม้ที่พบเห็นทั่วไป ได้แก่ ก่อเดือย ก่อหัวหมู อบเชย ทะโล้ ฯลฯ ส่วนพืชพื้นล่าง ได้แก่ หวาย ปาล์มชนิดต่างๆ
ป่าสนเขา เป็นป่าบนที่ราบหลังภู มีสนสองใบและสนสามใบขึ้นปะปนกัน ส่วนใหญ่เป็นสนสองใบ บางแห่งอยู่รวมกันเป็นป่าสนกว้างใหญ่
นอกจากนี้ยังพบกล้วยไม้ป่าดอกไม้ป่าหลายชนิดขึ้นอยู่ตามลานหิน เช่น ม้าวิ่ง เอื้องตาหิน เอื้องคำหิน เอื้องสายสามสี ช้องนางคลี่ เหง้าน้ำทิพย์ กุหลาบขาว กุหลาบแดง ฟองหิน รวมทั้งมอส เฟิน ไลเคนล์ และตะไคร่ชนิดต่างๆ ซึ่งในช่วงปลายฤดูฝนต่อฤดูหนาวดอกไม้ป่าเหล่านี้จะออกดอกบานสะพรั่งมีสีสัน งดงาม
ในอดีตภูหินร่องกล้า เคยมีสัตว์ป่าหลายชนิด เช่น เสือ กวางป่า เก้ง กระจง นกชนิดต่าง ๆ ครั้นต่อมาเมื่อกลายเป็นแหล่งอาศัยของคนจำนวนมาก และยังเคยเป็นสมรภูมิแห่งการสู้รบมาก่อน สัตว์ป่าต่างๆ จึงถูกล่าเป็นอาหาร ในปัจจุบันเหตุการณ์ต่าง ๆ สงบลง จึงมีสัตว์ป่าขนาดใหญ่ เช่น เสือ เก้ง กระจง หมี และนกหลายชนิดเข้ามาอาศัยอยู่มากขึ้น
โรงเรียนการเมืองการทหาร
อยู่ห่างจากที่ทำการอุทยานแห่งชาติประมาณ 6 กิโลเมตร มีสภาพเป็นป่ารกทึบหนาแน่นไปด้วยต้นไม้ใหญ่ ในอดีตเคยเป็นสถานที่สำหรับให้การศึกษาตามแนวทางของลัทธิคอมมิวนิสต์ ในบริเวณโรงเรียนการเมืองการทหาร จะประกอบไปด้วยบ้านฝ่ายพลเรือน ฝ่ายพลาธิการ ฝ่ายสื่อสาร และสถานพยาบาล ส่วนเหล่านี้มีทั้งหมด 31 หลัง เป็นบ้านหลังเล็กๆ กระจายอยู่อย่างเป็นระเบียบ ภายในบ้านแต่ละหลังจะมีแคร่สำหรับนอน และโต๊ะสำหรับเขียนหนังสือทำด้วยไม้กระดานอย่างหยาบๆ เศษข้าวของกระจายอยู่เกลื่อน บางหลังเริ่มผุพังเพราะถูกปล่อยให้ร้างหลังจากมวลชนเข้ามอบตัวแล้ว นอกจากนี้บริเวณตอนกลางของโรงเรียนการเมืองการทหาร มีรถแทรกเตอร์จอดอยู่ 1 คัน ซึ่ง ผกค. ทำการยึดจากบริษัท พิฆเนตร แล้วเผาทิ้งไว้
สำนักอำนาจรัฐ
อยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของอุทยานแห่งชาติ ห่างจากที่ทำการอุทยานแห่งชาติประมาณ 3 กิโลเมตร เป็นสถานที่ดำเนินการปกครอง มีการพิจารณาและลงโทษผู้กระทำผิดหรือละเมิดต่อกฎลัทธิมีคุกสำหรับขังผู้ กระทำความผิด มีสถานที่ทอผ้าและโรงซ่อมเครื่องจักรกล
กังหันน้ำ
อยู่ตรงข้ามกับโรงเรียนการเมืองการทหาร ใช้หล่อเลี้ยงคนหลายพันคนบนภูหินร่องกล้า สร้างขึ้นโดยนักศึกษาโดยใช้พลังน้ำขับเคลื่อนกังหันเพื่อหมุนแกนครก กระเดื่องตำข้าวซึ่งเปรียบเสมือนโรงสีข้าวของ ผกค.
โรงพยาบาล
อยู่ห่างจากสำนักอำนาจรัฐ ประมาณ 2 กิโลเมตร เป็นโรงพยาบาลกลางป่าที่มีอุปกรณ์ในการรักษาคนป่วยเกือบครบถ้วน มีห้องปรุงยา ห้องพักฟื้น และยาชนิดต่าง ๆ เป็นอันมาก
ลานหินแตก
อยู่ ห่างจากฐานพัชรินทร์ ประมาณ 300 เมตร ลักษณะเป็นหินที่มีรอยแตกเป็นแนวเป็นร่องเหมือนแผ่นดินแยก รอยแตกนี้บางรอยก็มีขนาดแคบพอให้รากต้นหญ้าชอนไชไปได้เท่านั้น บางรอยกว้างพอคนก้าวข้ามได้ และบางรอยกว้างมากจนไม่สามารถกระโดดข้ามได้ ความลึกของร่องหินแตกเหล่านั้นไม่สามารถจะคะเนได้ ลักษณะเช่นนี้สันนิษฐานว่าอาจจะเกิดจากการโก่งตัวหรือเคลื่อนตัวของผิวโลก จึงทำให้พื้นหินนั้นแตกเป็นแนวนอกจากนี้บริเวณหินแตกยังปกคลุมไปด้วยมอส ไลเคนส์ ตะไคร่ เฟิน และกล้วยไม้ชนิดต่างๆ
ผาชูธง
อยู่ห่างจากลานหินปุ่มประมาณ 600 เมตร เป็นหน้าผาสูงชันสามารถเห็นทิวทัศน์ได้กว้างไกล โดยเฉพาะภาพทิวทัศน์ดวงอาทิตย์ตกดินจะสวยงามไม่แพ้จุดชมทิวทัศน์อื่นๆ บริเวณนี้เคยเป็นสถานที่ที่ ผกค.จะขึ้นไปชูธงแดง (ฆ้อนเคียว) ทุกครั้งที่รบชนะทหารของรัฐบาล
น้ำตกหมันแดง
เป็นน้ำตกขนาดใหญ่ มี 32 ชั้น ปัจจุบันยังไม่มีทางรถเข้าถึง การเดินทางเข้าไปท่องเที่ยวยังน้ำตกในขณะนี้ ทำได้โดยการเดินเท้าเท่านั้น
น้ำตกร่มเกล้า-ภราดร
เป็นน้ำตกฝาแฝด 2 แห่ง ที่อยู่ติด ๆ กัน อยู่ห่างจากที่ทำการอุทยานแห่งชาติ บนถนนภูหินร่องกล้าประมาณ 4 กิโลเมตร ก่อนถึงโรงเรียนการเมืองการทหารประมาณ 1 กิโลเมตร จากถนนสายใหญ่ จะต้องเดินตัดลงไปบนทางเท้าที่พึ่งทำขึ้นใหม่เป็นระยะทางประมาณ 800 เมตร ตัวน้ำตกไม่สูงใหญ่นัก แต่สภาพแวดล้อมโดยรอบมีลักษณะเป็นป่าบริสุทธิ์อันงดงามมาก
น้ำตกศรีพัชรินทร์
ตั้งอยู่ก่อนถึงที่ทำการอุทยานแห่งชาติบริเวณเชิงเขาประมาณ 4-5 กิโลเมตร ปัจจุบันยังไม่มีทางรถเข้าถึง
น้ำตกผาลาดและน้ำตกตาดฟ้า
ตั้งอยู่บริเวณเชิงภูหินร่องกล้าโดยแยกซ้ายจาก หมู่บ้านห้วยน้ำไซต่อไปประมาณ 2 กิโลเมตร จะถึงที่ทำการพลังงานไฟฟ้าห้วยขมึน อันเป็นที่ตั้งของน้ำตกแก่งลาด ขึ้นเขาต่อไปประมาณ 3-4 กิโลเมตร มีทางเดินแยกซ้ายลงไปน้ำตกตาดฟ้าหรือน้ำตกด่านกอซองเป็นน้ำตกชั้นเดียวขนาด ใหญ่ที่สวยงาม
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)