วันอาทิตย์ที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2553

ดวงจันทร์โคจรใกล้โลก 27 มกราคม พศ.2553


หวนกลับมาอีกแล้วแล้ว ทุกๆ 2 ปี 2 เดือน ดาวอังคารกับโลกจะมาอยู่ใกล้กันอีกครั้ง แต่ครั้งนี้ก็ยังไม่ใช่ครั้งที่ใกล้โลกที่สุด เพราะยังไม่มีครั้งไหนที่ดาวอังคารจะเข้ามาใกล้ๆได้เหมือนเมื่อครั้งที่โด่งดังในวันที่ 27 สิงหาคม 2546 ซึ่งจัดว่าใกล้ที่สุดในรอบหลายหมื่นปีทำให้ดาวอังคารใกล้โลกในปีนั้นได้รับความสนใจอย่างมากจากสถาบันการศึกษาและผู้สนใจเรื่องดาราศาสตร์ทุกคน กว่าจะให้เข้ามาใกล้เหมือนเมื่อปี พศ.2546 อีกต้องรอถึงปี พศ.2561 ตามตารางที่ให้ไว้ข้างล่าง
สำหรับดาวอังคารใกล้โลกในปีนี้ตรงกับวันที่ 27 มกราคม พศ.2553 ขึ้น 12 ค่ำ ดวงจันทร์อยู่แถวกลุ่มดาวคนคู่ ซึ่งอยู่ไม่ไกลแสงจันทร์อาจจะรบกวนท้องฟ้าบ้างพอสมควร แต่เราก็ยังสามารถเห็นดาวอังคารได้ง่าย โดยจะมองเห็นขึ้นขอบฟ้าด้านทิศตะวันออกตั้งแต่หัวค่ำ มีความสว่างช่วงนั้นอยู่ที่ แมกนิจูด -1.3 ขนาดกว้างเชิงมุม 14 arcsec อยู่ในกลุ่มดาวปู ขนาดค่อนข้างเล็กเมื่อเทียบกับปีก่อนๆที่ผ่านมา การสังเกตด้วยกล้องโทรทัศน์จึงต้องใช้กำลังขยายสูงพอสมควร และในวันที่ 29 มกราคม ดาวอังคารจึงจะมาอยู่ที่ตำแหน่ง Opposition หรือตำแหน่งตรงข้ามดวงอาทิตย์ ดังนั้นการเฝ้าสังเกตหรือจัดกิจกรรมดูดาวอังคารจึงไม่จำเป็นต้องใช้วันที่ 27 มกราคมวันเดียว เราสามารถดูก่อนหรือหลังวันนี้ได้ 2-3 วัน

ความรู้เกี่ยวกับดาวอังคารใกล้โลก

สาเหตุที่โลกและดาวอังคารไม่ได้อยู่ใกล้กันด้วยระยะห่างเหมือนเดิมทุกครั้ง ก็เพราะวงโคจรของทั้งโลกและดาวอังคารเป็นวงรี ซึ่งจะมีตำแหน่งหนึ่งที่โลกอยู่ใกล้ (Perihelion) และไกล(Aphelion) จากดวงอาทิตย์ที่สุด ดาวอังคารก็เช่นกัน เมื่อไหร่ก็ตามที่ตำแหน่งไกลสุดของโลกมาพบกับตำแหน่งที่ใกล้ดวงอาทิตย์ที่สุดของดาวอังคาร ก็จะกลายเป็นตำแหน่งที่โลกและดาวอังคารมาอยู่ใกล้กันที่สุด ตามตารางข้างล่าง ซึ่งจะเห็นว่า เดือนสิงหาคม พศ.2546 เป็นครั้งแรกที่อยู่ใกล้กันที่สุดในรอบหลายหมื่นปี และจะใกล้กันแบบนี้อีกก็ปี พศ.2593 ดาวอังคารมีคาบการโคจรรอบดวงอาทิตย์ (Sidereal Period) 687 วันบนโลกหรือประมาณ 1 ปี 10 เดือน ขณะที่โลกเองมีคาบการโคจรรอบดวงอาทิตย์ 365.25 วันหรือ 12 เดือน ทำให้โลกโคจรรอบดวงอาทิตย์เร็วกว่าดาวอังคาร เมื่อถึงวันที่โลกและดาวอังคารมาอยู่ใกล้กันครั้งหนึ่ง หลังจากนั้นโลกก็จะโคจรโดยเร็วทิ้งดาวอังคารไว้เบื้องหลังและทิ้งห่างไปทุกทีจนโลกกลับมาที่เดิมครบ 1ปี แต่ดาวอังคารจะอยู่ห่างแบบนำหน้า ช่วงนี้จะเป็นช่วงที่โลกจะโคจรเข้าไปไล่ให้ทันอีกครั้ง แต่ดาวอังคารเองก็โคจรหนี โลกจึงต้องใช้เวลาในการไล่ตามอีกปีกว่าๆจึงจะทัน ทำให้ทุกๆ 2 ปี 2 เดือนบนโลก จึงจะตามดาวอังคารทันครั้งหนึ่ง และทำให้ดาวอังคารอยู่ในตำแหน่งตรงข้ามกับดวงอาทิตย์ (Opposition) ครั้งหนึ่ง ตำแหน่ง Opposition ไม่จำเป็นต้องเป็นวันเดียวกับที่อยู่ใกล้โลก ซึ่งเกิดขึ้นจากวงโคจรที่เป็นวงรีนั่นเอง เรื่องแบบนี้มักจะเกิดขึ้นกับดาวอังคารบ่อยๆ เพราะเป็นดาวเคราะห์ดวงถัดไป แต่กับดาวเคราะห์ดวงถัดไปอย่างเช่น ดาวพฤหัสบดี ดาวเสาร์ ดาวยูเรนัส ดาวเนปจูน ตำแหน่งใกล้โลกมักจะตรงกับตำแหน่ง Opposition

เราดูอะไรจากการดูดาวอังคารใกล้โลก

เนื่องจากดาวอังคารเป็นดาวเคราะห์ที่มีชั้นบรรยากาศห่อหุ้มบางมากและเป็นก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ซึ่งเป็นก๊าซใสสามารถมองเห็นพื้นผิวได้จากโลกเหมือนดูหลุมบนดวงจันทร์ แต่เนื่องจากดาวอังคารอยู่ไกลกว่าดวงจันทร์เราจึงไม่สามารถเก็บรายละเอียดได้มากเหมือนดวงจันทร์ สิ่งที่เราสนใจบนพื้นผิวดาวอังคารก็คือขั้วน้ำแข็ง ซึ่งสามารถมองเห็นเป็นแถบสีขาวอยู่บริเวณขั้ว ได้จากกล้องบนพื้นโลกถ้ากล้องนั้นมีความสามารถในการเก็บรายละเอียดได้ดีพอ และช่วงนี้เป็นช่วงที่ดาวอังคารอยู่ห่างจากดวงอาทิตย์มาก ปริมาณน้ำแข็งก็อาจจะมากขึ้นด้วย พายุฝุ่นบนดาวอังคาร เราสามารถเห็นพายุฝุ่นที่ปกคลุมพื้นผิวดาวอังคารได้อย่างชัดเจนช่วงที่ดาวอังคารมีการเปลี่ยนแปลงฤดูกาล ซึ่งเราจะเห็นเป็นแถบสีคล้ำขยายตัวและลดลงอย่างน่าตื้นตาตื้นใจ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น