วันอังคารที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2553

Softcopy Photogrammetry หรือ Digital Photogrammetry


เมื่อได้เตรียมการในการเตรียมข้อมูล นั่นคือภาพถ่ายทางอากาศที่ผ่านการแปรเปลี่ยนให้กลายเป็นตัวเลขโดยวิธีการอย่างใดอย่างหนึ่ง แล้ว ก็มาถึงขั้นตอนที่เราจะต้องนำมาภาพคู่คือภาพถ่ายทางอากาศตัวเลขที่มีส่วนซ้อนหรือ overlap กันมาทำการปรับภาพเพื่อให้ภาพคู่ที่ฉายหรือ project ออกมานั้นมีสภาพเหมือนกับภาพถ่ายทางอากาศขณะบินถ่ายภาพ

วิธีการจัดภาพแบ่งออกเป็นสองขั้นตอนใหญ่ๆ คือ
-ขั้นตอนจัดภาพภายในหรือ interior orientation ขั้นตอนนี้เป็นการเตรียมการณ์ เพื่อให้ทราบสภาพเบื้องต้นของภาพถ่ายทางอากาศ เช่นมีค่า ระยะโพกัสเท่าไร ค่าบิดเบี้ยวที่จะต้องปรับแก้เพื่อให้แสงที่ผ่านเลนส์เดินทางเป็นเส้นตรง,ค่าระยะระหว่างจุด fiducial *หรือจุดที่มุมภาพ และสุดท้ายคือขั้นตอนที่ต้องมีการรังวัดจุด fiducial เพื่อทำให้ระบบพิกัดของภาพ มีแกนที่ตรงกันกับแบบจำลองการคำนวณ
-ขั้นตอนจัดภาพภายนอกหรือ exterior orientation ขั้นตอนนี้คือการกระทำให้ภาพคู่ทั้งสองภาพมีสภาพเหมือนกับตอนที่ถ่ายภาพบนอากาศยาน ซึ่งค่าตัวแปรที่จะต้องรู้ค่าเพื่อทำให้ภาพถ่ายทางอากาศแต่ละภาพมีสภาพเหมือนตอนบินถ่ายก็คือ
- ค่าพิกัดของจุดเปิดถ่าย คือ X0,Y0,Z0 คือค่าพิกัดของจุดเปิดถ่ายที่จุดโพกัสของตัวกล้องหรือที่เรียกว่า จุด Principal
- ค่าอาการเอียงของตัวกล้อง อันได้แก่ มุมในการหมุนตามแนวแกน X คือ v หรือ omega
มุมในการหมุนตามแนวแกน Y คือ K หรือ kappa
มุมในการหมุนตามแนวแกน Z คือ Ф หรือ phi
ซึ่งรวมทั้งหมดแต่ละภาพจะมีตัวไม่ทราบค่า 6 ตัว ถ้าเป็นภาพคู่ก็จะมีทั้งหมด 12 ตัว นี่เองในระบบ LIDAR จึงมีระบบ GPS เพื่อทำการรังวัดหาตำแหน่งพิกัดของจุดเปิดถ่าย และมีระบบ IMU เพื่อรังวัดมุมหมุนของแต่ละแกน (ดูหัวข้อ GPS และ INS (Inertial navigation sensors) )
แต่ถ้าเราไม่ทราบค่าทั้ง 6 ค่า ในภาพเดี่ยว หรือ 12 ค่าในภาพคู่ เราก็ต้องอาศัยจุดควบคุม**หรือจุด Ground control ที่เกิดจากการรังวัดในพื้นที่จริง หรือเกิดจากการกระทำโดยวิธีการ ขยายจุดบังคับภาพถ่ายทางอากาศ หรือ Aerotriangulation (ดูหัวข้อ Block Adjustment)
ซึ่งการหาตัวไม่ทราบค่า จากการใช้จุดควบคุมนี้เราจะใช้สมการ ร่วมเส้นหรือ colinearity

นั่นคือต้องมีการ รังวัดค่าพิกัดภาพถ่าย ตามแผนภาพข้างบนคือ x และ y ที่จุดควบคุมที่ทราบค่า ตามแผนภาพข้างบนคือ X ,Y , Z เพื่อหาตัวไม่ทราบค่าทั้ง 6 ตัว ฉะนั้นการที่จะใช้จุดควบคุมเพื่อคำนวณย้อนหาตัวไม่ทราบค่า ต้องมีจุดควบคุมอย่างน้อย 3 จุด
เมื่อถึงขั้นตอนนี้ภาพคู่ทั้งสองก็ถูกจัดภาพให้มีสภาพคล้ายกับตอนเปิดถ่ายบนอากาศยาน และการที่เราต้องใช้ภาพคู่ที่มีส่วนซ้อนก็เพราะว่า เราจะสามารถรังวัดค่าระดับหรือ ค่า Z ได้ด้วย ซึ่งในกรรมวิธี softcopy photogrammetry นี้เราจะเป็นการรังวัดอัตโนมัติหรือที่เรียกว่า Automatic DEM ซึ่งต้องใช้หลักการที่เรียกว่า Image Matching

1 ความคิดเห็น:

  1. ดีแล้วครับ... ลองอ่านผ่านๆ ตา.. เรื่องนี้เป็นเรื่องยาก เป็นเรื่องดีที่อาจารย์ยางที่จบมาทางนี้โดยเฉพาะมาสอนพวกเรา..

    ตอบลบ